สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์ ศึกษาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 339 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 70 คน ครูผู้สอน จำนวน 269 คน จากจำนวน 70 โรงเรียน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.48 - 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และจำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่งโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง
5. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนที่มีอำนาจพยากรณ์ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ทางวิชาการ (X3) ด้านบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (X2) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (X5) และด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย (X1) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 65.8
6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน จำนวน 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน คือ 6.1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องพัฒนาตนเองและจะต้องร่วมมือร่วมใจกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายในการจัดการศึกษา 6.2) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติ และนิเทศประเมินการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง นำมาพัฒนาหลักสูตร 6.3) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ทางวิชาการ ผู้บริหารควรสนับสนุนการจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้และควรส่งเสริมการอบรม สัมมนาทางวิชาการให้ครูผู้สอน และ 6.4) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน โดยผู้บริหารต้องนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย เป็นระบบและต่อเนื่อง และสะท้อนผลเพื่อนำไปพัฒนา
The purposes of this correlational research were to study, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish the guidelines for developing academic leadership of administrators affecting the professional learning community of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1, as perceived by school administrators and teachers with different positions, school sizes, and work experience. The sample group size was determined using Krejcie and Morgan’s table. The multi-stage random sampling yielded 339 participants, comprising 70 administrators and 269 teachers from 70 schools in the 2022 academic year. The tools for data collection were a set of questionnaires with the discriminative power ranging from 0.48 to 0.91, with the reliability of 0.97, and structured interview forms. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Sample t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.
The findings were as follows:
1. The academic leadership of administrators and the professional learning community of schools were overall at a high level.
2. The perceived academic leadership of administrators among participants with different positions and school sizes was overall different at the .01 level of significance. When considering work experience, no significant differences were found.
3. The perceived professional learning community within schools among participants with different positions showed a difference overall at the .01 level of significance. When considering school sizes, there was an overall difference at the .05 level of significance. In terms of work experience, there was no difference.
4. The academic leadership of school administrators and the professional learning community of schools had a statistically significant positive relationship at the .01 level of significance with a high correlation.
5. The academic leadership of school administrators could predict the professional learning communities of schools at the .01 level of significance, with the predictive power of 65.8 percent, comprising promotion of an academic learning atmosphere (X3), curriculum administration, and teaching and learning management (X2), supervision, monitoring, and evaluation of teaching and learning management (X5), and vision, mission, and goals (X1).
6. This research proposed guidelines for developing school academic leadership of administrators affecting the effectiveness of the professional learning community of schools. The guidelines addressed four aspects: 6.1) Vision, Mission, and Goals. School administrators must engage in self-improvement and collaborative efforts to establish a shared vision, mission, and goals in education management. 6.2) Curriculum Administration and Teaching and Learning Management with curriculums emphasizing action-based learning and ongoing supervision to assess the curriculum implementation and facilitate the curriculum improvements. 6.3) Promotion of Academic Learning Atmosphere. Administrators should foster a conducive learning atmosphere and promote teachers’ development through academic training and seminars, and 6.4) Supervision, Monitoring, and Evaluation of Teaching and Learning Management. Administrators should systematically and continuously supervise, monitor, follow up, and evaluate teaching and learning management using a range of methods to facilitate reflection and drive further development.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,977.68 KB |