ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Supervision Skills of Administrators Affecting Teacher Performance in Schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
ขชล ไชยเทพ รหัส 64421229205 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.ฤทัยทรัพย์ ดอกคำ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์และหาแนวทางการยกระดับทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 349 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 87 คนครูผู้สอน จำนวน 262 คน จากจำนวน 212 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ คุณภาพของแบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการนิเทศของผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 คุณภาพของแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครูมีมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42 - 0.81 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)  

             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ทักษะการนิเทศของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก

                 2. ทักษะการนิเทศของผู้บริหารในโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 3. การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 4. ทักษะการนิเทศของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง(rXtYt= .699)

                 5. ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ทักษะด้านการบริหารงานบุคคล (X5) ทักษะด้านความเป็นผู้นำ (X2) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ทักษะด้านเทคนิค (X3) และทักษะด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (X4) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 48.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.31417

                 6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการยกระดับทักษะการนิเทศของผู้บริหาร จำนวน 4 ทักษะ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน คือ ทักษะด้านการบริหารงานบุคคล ทักษะด้านความเป็นผู้นำ ทักษะด้านเทคนิค และทักษะด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน

Abstract

The purposes of this correlation research were to examine, compare, and determine the relationship and the predictive power, and establish guidelines for improving the supervision skills of administrators affecting teacher performance in schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office, as perceived by school administrators and teachers with different positions, work experience, and school-sizes. The sample consisted of school administrators and teachers, totaling 349 participants including 87 school administrators and 262 teachers from 212 schools working under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office in the 2022 academic year. The sample size was determined according to the table of Krejcie and Morgan and obtained through multi-stage random sampling. The research instrument included Interview forms and a set of questionnaires on the supervision skills of administrators with discrimination values ranging from 0.38 to 0.82, and the reliability of 0.96, and teacher performances with discrimination values from 0.42 to 0.81 and the reliability of 0.93. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

             The findings were as follows:

                 1. The overall supervision skills of administrators and teacher performance in schools were at a high level.

                 2. The overall supervision skills of administrators classified by participants’ positions and work experience showed no differences. When considering the school sizes, there was a difference at the .01 level of significance overall.

                 3. The teacher performance in schools, classified by participants’ positions, indicated a statistically significant difference at the .05 level overall. When considering work experience, there were no differences overall. In terms of school sizes, there was a statistically significant at the .01 level overall.

                 4. The supervision skills of administrators had a positive relationship with the teacher performance in schools at the .01 level of significance with a medium level of correlation (rXtYt= .699).

                 5. The supervision skills of administrators were able to predict the effectiveness of the teacher performance in schools, including personnel management skills (X5), and leadership skills (X2) at the .01 level of significance, while technical skills (X3) and assessment skills showed the statistical significance at the .05 level. The predictive power of all factors reached 48.40 percent with the Standard Error of Estimate of ±.31417.

                 6. This research has proposed guidelines for improving the supervision skills of administrators affecting teacher performance in schools involving four skills, namely personnel management, leadership skills, technical skills, and assessment skills.

คำสำคัญ
ทักษะการนิเทศของผู้บริหาร การปฏิบัติงานของครู
Keywords
Supervisory Skills of Administrators, Teacher Performance
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,171.71 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 13:59:14
View 195 ครั้ง


^