สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ศึกษาความสัมพันธ์อำนาจพยากรณ์และหาแนวทางการพัฒนาระดับทักษะการสื่อสารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในตำแหน่งและขนาดของสถานศึกษา การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 369 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 73 คน ครูผู้สอน จำนวน 296 คน จากจำนวน 175 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนและสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารของผู้บริหารมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.289 – 0.802 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.918 แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.42-0.81 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.900 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (Independent Samples t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารและการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ทักษะการสื่อสารของผู้บริหาร พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในตำแหน่ง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3. การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน พบว่า จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในตำแหน่ง และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกันแตกต่างกัน
4. ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารและการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (rxtyt =.741)
5. ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านความเข้าใจผู้รับสาร (X3) และด้านความน่าเชื่อถือ (X1) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 57.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±.271
6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้บริหาร จำนวน 2 ทักษะ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน คือ ทักษะด้านความเข้าใจผู้รับสารและทักษะด้านความน่าเชื่อถือ
The purposes of this correlational research were to study, compare and determine the relationship between the predictive power and find ways to develop the level of communication skills of administrators that affect teacher performance standards under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. According to the opinions of school administrators and teachers which classified by position, work experience and school size. This research is a correlational research. The sample group of this research is 369 people in the academic year 2022. The sample group can be divided into 73 school administrators and 296 teachers from 175 schools under the Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. The size of the sample was determined by using the table of Craigie and Morgan and Multi – Stage Random Sampling. The tools for data collection were two sets of five-point scale questionnaires, comprising a set of questionnaires on the communication skills of school administrators with the discriminative values ranging from 0.289 to 0.802 and the reliability of 0.918,a set of questionnaires on teacher Professional standards performance with the discriminative values ranging from 0.42-0.81 and the reliability of 0.900 and a structured interview form examining the guidelines for developing the communication skills of school administrators .Statistics used in data analysis were consist of frequency, percentage, mean, standard deviation. Independent Samples t-test, One-Way ANOVA, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. Communication skills of school administrators and the compliance of teacher with performance standards are at the highest level.
2. The communication skills of school administrators were classified by their positions and work experience has a significantly different at the .01 level. But if classified by the size of school, the value of overall picture is not different.
3. Compliance with the performance standards of teachers in schools was classified by their positions. The overall difference was statistically significant at the .01 level. But if classified by work experience and the size of school. The value of overall picture is not different.
4. There was a positive relationship between the communication skills of administrators and the performance of teachers' performance standards in schools.The statistically significant value is at the .01 level with a high level of correlation (rxtyt =.741).
5. The communication skills of school administrators can be predicted teachers' performance in school. The statistical significance value at the .01 level was consisted of the understanding of the audience (X3) and the credibility (X1). The predictive power is 57.10 percent and the standard error of forecasting equal to ±.271.
6. This research presents a guideline for developing communication skills of school administrators that affect the compliance of teachers' performance standards in schools into 2 skills. First, the ability to understand the audience skill and the second is the credibility skill.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,358.25 KB |