ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Transformational Leadership of School Administrators in the New Normal Era Affecting the Efficiency of Teacher Teamwork in the Opportunity Expansion School under the Primary Educational Service Areas in Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
อัษฎา ศรีล้านมี รหัส 64421229209 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จินดา ลาโพธิ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.ชรินดา พิมพบุตร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัด และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน การวิจัยในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 356 คน จำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 89 คน และครูผู้สอน จำนวน 267 คน จากจำนวน 89 โรงเรียน วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .275 - .757 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .812 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .180 - .835 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .793 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่และประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

                 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัด และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 3. ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกันจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สังกัด โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

                 4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ (X) กับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู (Y) มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อยู่ในระดับสูง (rXtYt = 0.847)

                 5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (X5) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (X1) ด้านมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (X4) และด้านการกระตุ้นทางปัญญา (X2) โดยอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 71.6 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ±0.22697

                    6. การวิจัยในครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในยุควิถีใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครู เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 3) ด้านมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 4) และด้านการกระตุ้นทางปัญญา

Abstract

The purposes of this research were to study, compare, determine the relationship, identify the predictive power, and establish guidelines for developing Transformational Leadership of School Directors in the New Normal Era Affecting the Efficiency of Teacher Teamwork in the Opportunity Expansion School under the Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province as perceived by administrators and teachers with different positions, Primary Educational Service Area under the jurisdiction, and work experience. The sample size was determined using the Krejcie and Morgan table and Multi-Stage Random Sampling, which yielded a total of 356 participants consisting of 89 administrators and 267 teachers from 89 schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province, in the 2022 academic year. The tools for data collection were interview forms and a set of questionnaires on Transformational Leadership of School Directors in the New Normal Era with the discriminative power ranging from .275 to .757 and the reliability of .812, and the Efficiency of Teacher Teamwork with the discriminative power ranging from .180 to. 835 and the reliability of .793. Statistics for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test for Independence Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

             The findings were as follows:

               1. Transformational Leadership of School Directors in the New Normal Era and the Efficiency of Teacher Teamwork were at a highest level overall.

               2. Transformational Leadership of School Directors in the New Normal Era, according to the opinions of school administrators and teachers; in terms of positions under the Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province; and in terms of work experience, there were a difference at the .01 level of significance overall.

               3. Efficiency of Teacher Teamwork, according to the opinions of school administrators and teachers; in terms of positions was no difference overall; in term of the Primary Educational Service Area in Sakon Nakhon Province was a difference at the .01 level of significance overall; and in terms of work experience, there was no difference overall.

               4. Transformational Leadership of School Directors in the New Normal Era (X) and the Efficiency of Teacher Teamwork (Y) had a positive relationship at the .01 level of significance with a very high level (rXtYt = 0.847)

               5. Transformational Leadership of School Directors in the New Normal Era was able to predict the Efficiency of Teacher Teamwork at the .01 level of: clear vision (X5), inspirational motivation (X1), individualized consideration (X4), and intellectual stimulation (X2). The said variables were able predict the effectiveness if educational institution administration at 71.6 percent with a standard error of estimate of ±0.22697.

               6. This research presents the development of transformational leadership for administrators in the new normal era that affects the efficiency of teachers' teamwork. Four aspects are suggested

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม
Keywords
Transformational Leadership, The Efficiency of Teamwork
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 9,736.22 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 ตุลาคม 2566 - 11:36:29
View 286 ครั้ง


^