ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
School Administrators’ Skills in the Digital Era Affecting the Effectiveness of School Administration in the Educational Expansion Opportunity Schools under BuengKan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
กาญจนา นามวงศ์ รหัส 64421229223 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และแนวทางในการพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในปีการศึกษา 2565 จำนวน 264 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 44 คน และครูผู้สอน 220 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.479 - 0.880 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.984 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.829 - 0.989 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.940 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

         2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

         3. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสถานศึกษาจำแนกตามอำเภอ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

         4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

         5. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลกับประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับสูงมาก (rxy = 0.989) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

         6. ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล ที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย ทักษะการบริหารจัดการองค์การทั้งระบบ ทักษะพลเมืองดิจิทัลและความฉลาดทางสังคม ทักษะภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี และการคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

         7. แนวทางการยกระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีจำนวน 4 ด้าน คือ ทักษะภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี ทักษะการบริหารจัดการองค์การทั้งระบบ ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์และมีการคิดเชิงนวัตกรรม และทักษะพลเมืองดิจิทัลและความฉลาดทางสังคม

Abstract

          The purposes of this research were to examine, compare and identify the relationship, determine the predictive power, and establish guidelines for developing school administrators' skills in the digital age affecting the effectiveness of school administration within the Educational Expansion Opportunity Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office. The research sample, obtained through multi-stage sampling, consisted of 44 school administrators and 220 teachers, yielding a total of 264 participants in the academic year 2022. The research tools included a set of questionnaires and an interview form. The questionnaires were administered to assess the administrators’ transformative leadership, revealing the discriminative power ranging from 0.479 to 0.880 and the reliability of 0.984, and to measure teachers' performance in schools, displaying the discriminative power ranging from 0.829 to 0.989 and the reliability of 0.940. The statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation, t-test statistics, One-Way ANOVA, Pearson's product-moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression analysis.

          The findings were as follows:

          1. The school administrators’ skills in the digital age, as perceived by participants, were overall at a high level.

          2. The effectiveness of school administration within the Educational Expansion Opportunity Schools, as perceived by participants, was overall at a high level.

          3. The school administrators’ skills in the digital age, as perceived by participants with different positions, showed no differences, except for variations observed in terms of their work experience and geographical locations of schools within districts. These differences reached the .01 level of significance.

          4. The overall effectiveness of school administration, as perceived by participants with different positions, work experience, and school sizes, showed no differences overall.

          5. The school administrators’ skills in the digital era and the school effectiveness had a positive relationship with a very high level (rxy = 0.978), at the .01 level of significance.

          6. The school administrators’ skills in the digital age had the discriminative power in predicting the effectiveness of school administration within the Educational Expansion Opportunity Schools at the .01 level of significance, comprising total organizational management, digital citizenship and social intelligence, technological leadership, and creativity and innovative thinking.

          7. The guidelines for improving school administrators’ skills in the digital age that affected the effectiveness of school administration within the Educational Expansion Opportunity Schools under Bueng Kan Primary Educational Service Area Office, comprised four dimensions, namely, technological leadership, total organizational management, creativity and innovative thinking, and digital citizenship and social intelligence.

คำสำคัญ
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน ยุคดิจิทัล
Keywords
School Administrators’ Skills, Effectiveness of School Administration, Digital Era
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 7,408.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 กุมภาพันธ์ 2567 - 15:37:53
View 507 ครั้ง


^