สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 322 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพปัจจุบัน มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.51-0.91 ค่าความเชื่อมั่น 0.99 และด้านสภาพที่ควรจะเป็น มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.32-0.74 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบสอบถามแนวทางพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การตระหนักรู้ในตนเอง 2) การจัดการตนเอง 3) การสร้างแรงจูงใจ และ 4) การคิดสร้างสรรค์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยโมเดลการวัดภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 0.00, df = .00, p-value = 1.00, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.79-1.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ การสร้างแรงจูงใจ รองลงมา ได้แก่ การตระหนักรู้ในตนเอง การคิดสร้างสรรค์ และการจัดการตนเอง ตามลำดับ
2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีค่าดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) เท่ากับ 0.093 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสร้างแรงจูงใจ (PNImodified = 0.104) มีค่าสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการตนเอง (PNImodified = 0.097) ด้านการตระหนักรู้ในตนเอง (PNImodified = 0.087) และด้านการคิดสร้างสรรค์ (PNImodified = 0.083) ตามลำดับ
4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการสร้างแรงจูงใจ ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจภายนอก และ 2) ด้านการจัดการตนเอง ได้แก่ การบริหารเวลา การสังเกตตนเอง และการตั้งเป้าหมาย
The objective of this study was to assess the needs for self-leadership developmentt of school administrators. The participants of the study comprised 322 administrators and teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 in academic year 2022, They were selected using multi-stage random sampling. The instruments used in data collection included a set of 5-rating scale questionnaires, which the part of current state indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discriminative power index ranged between 0.51-0.91 and reliability value index at 0.99, and the desirable state indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discriminative power index ranged between 0.32-0.74 and reliability value index at 0.96, and a set of questionnaires on self-leadership development. The statistical used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Need Index (PNImodified) and confirmatory component analysis.
The findings were as follows.
1. Self-leadership of school administrators comprised four components, namely 1) self-awareness, 2) self-management, 3) motivation, and 4) creative thinking, which showed the suitability at the highest level. The self-leadership of school administrators congruent with the empirical data (χ2 = 0.00, df = .00, p-value = 1.00, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00) and indicated factor loading between 0.79-1.00 with statistical significance at .01. the factor obtained the highest loading was motivation, followed by self-awareness, creative thinking and self-management, respectively.
2. The current state of self-leadership of school administrators, in overall, was at high level, and the desirable condition of self-leadership of school administrators, in overall, was at the highest level.
3. The results of the needs assessment of self-leadership of school administrators, in overall indicated the priority need index (PNImodified) at 0.093. When considering each aspect, It was found that motivation showed the highest need (PNImodified = 0.104), followed by self-management (PNImodified = 0.097), self-awareness (PNImodified = 0.087) and creative thinking (PNImodified = 0.083), respectively.
4. The guidelines for developing self-leadership of school administrators consisted of two components, namely 1) Motivation included extrinsic motivation and 2) Self-management included time management, self-observation and goal setting.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,285.83 KB |