ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
Needs Assessment of Instructional Competency Development of Teachers in Schools under NakhonPhanom Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
ธนกฤต อินธริชัย รหัส 64421247111 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกลักษณ์ เพียสา กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู การวิจัยมีทั้งหมด 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยการศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่มุ่งหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 331 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ด้านสภาพที่เป็นจริงมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.56-0.84 มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และด้านสภาพที่มุ่งหวังมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.44-0.84 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคำนวณดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น ระยะที่ 3 การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยใช้แบบสอบถามแบบเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยและวิเคราะห์หา ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัยพบว่า

           1.สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2) การออกแบบการเรียนรู้ 3) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

           2. สภาพที่เป็นจริงของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.93) และสภาพที่มุ่งหวังของสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.70) 

          3. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 มี 5 ด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.238) และ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = 0.208) การออกแบบการเรียนรู้ (PNImodified = 0.187) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (PNImodified = 0.179) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (PNImodified = 0.171)

          4.แนวทางพัฒนาสมรรถด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ประกอบด้วยด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร และด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้

Abstract

          This study aimed to: 1) identify the components of teachers’ iinstructional competency, 2) assess the needs of instructional competency development of teachers, and 3) conduct guidelines for instructional competency development of teachers. The research consisted of three phases. The first phase was to identify the components of instructional competency of teachers. The instrument used in this phase was a 5-rating scale questionnaire and the components were confirmed by five experts. The statistics used for analyzing the data were mean and standard deviation. Phase 2 was to assess of needs of instructional competency development of teachers by comparing the current and expected situations of instructional competency of teachers. The sample consisted of 331 school administrators and teachers under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1, selected using multi-stage random sampling. The instrument used in this phase was a set of 5- rating scale questionnaire with a dual-response format. The part of current situation showed validity index ranged between 0.60-1.00, discrimination power index ranged between 0.56-0.84 and reliability index at 0.98, whereas the part expected situation obtained discrimination power index ranged between 0.44-0.84 and reliability index at 0.97. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified). Phase was to conduct the guidelines of instructional competency development of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1. The instrument used was agree or disagree questionnaire, and the collected data were analyzed for frequency, percentage, and content analysis.

          The findings were as follows.

          1. The instructional competency of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1 comprised five components, namely 1) constructing and developing a curriculum 2) learning design 3) learning management. 4) implementing and developing innovative media and technology for learning management and 5) learning measurement and evaluation. All components were suitable at the highest level.

          2. The current situation of instructional competency of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1, in an overall, was at high level(x = 3.93, and the expected situation of instructional competency of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1 was at the highest level (x = 4.70).

          3. Needs assessment of instructional competency development of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1 were prioritized as constructing and developing a curriculum (PNImodified = 0.238) and implementing, developing innovative media and technology for learning management (PNImodified = 0.208), learning design (PNImodified = 0.187). learning measurement and evaluation (PNImodified = 0.179) and learning management PNImodified = 0.171), respectively.

                 4. The guidelines for instructional competency development of teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 1 showed that constructing and developing a curriculum and using and developing innovative media and technology for learning management were outstanding guidelines for instructional competency development.

คำสำคัญ
ความต้องการจำเป็น สมรรถนะ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู
Keywords
Needs Assessment, Competency, Teachers’ Instructional Competency
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 5,328.24 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 กุมภาพันธ์ 2567 - 15:30:00
View 820 ครั้ง


^