ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ
Learning Leadership of administratos Affecting Learning Organization of Schools under the Secondary Educational Service Area Office Buengkan
ผู้จัดทำ
มุกลัดดา อัมไพ รหัส 64421247113 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 278 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านภาวะผู้นำการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรง 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.51 – 0.93 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 ส่วนด้านการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.47 – 0.99 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

             ผลการวิจัยพบว่า

                 1. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม การบูรณาการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน และความคิดสร้างสรรค์ โดยมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โมเดลการวัดภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (= 0.18, df = 1, p – value = 0.67, GFI = 1.0, AGFI = 1.0, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00) ซึ่งตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ การเรียนรู้เป็นทีม รองลงมา ได้แก่ การบูรณาการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน และความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ

                 2. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

                 3. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

                 4. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                 5. ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการบูรณาการ (X5) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (X2) และด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน (X4) สามารถพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 90.50 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้

             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

                  = .538 + .471 (X5) + .226 (X2) + .191 (X4)

             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

                 y = .503 (Z5) + .270 (Z2) + .212 (Z4)

                 6. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา มีจำนวน 3 ด้าน คือ ด้านการบูรณาการด้านความคิดสร้างสรรค์ และด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติงาน

Abstract

The purpose of this research was to investigate the learning leadership that affected s learning organization of schools under the Secondary Educational Service Area Office Buengkan. The participants of the study included administrators and teachers in academic year 2022. They selected using multi-stage random sampling. The tool was a set of 5-rating scale questionnaire, which the part of learning leadership indicated validity index at 1.00, discriminative power index ranged  between 0.51-0.93, and reliability value index at 0.97, where as the learning organization part indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discriminative power index ranged between 0.47-0.99, and reliability value index 0.96. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Pearson correlation coefficient, Stepwise multiple regression analysis and confirmatory component analysis.

             The findings were as follows.

                 1. The learning leadership model of administrators comprised five components, namely Team learning, Integration, Conductive learning environment, Modern technology implementation in working and Creativity. Overall components showed the highest suitability level. The learning leadership model congruent with the empirical data ( = 0.18, df = 1, p – value = 0.67, GFI = 1.0, AGFI = 1.0, RMR = 0.00, RMSEA = 0.00). The variable which indicated the highest loading factor was Team learning, followed by Integration, Conductive learning environment, Modern technology implementation on working and Creativity, respectively.

                 2. Learning Leadership of Administrators, in overall and each aspect were at high level.

                 3. Learning organization of school, in overall and each aspect were at high level.

                 4. The learning leadership model of administrators and learning organization of schools showed positive correlation at high level with statistical significance at .01.

                 5. Learning Leadership of Administrators in Integration (X5), Creativity (X2), and Modern technology implementation on working (X4) were able to predict the learning organization of schools (Y) with statistical significance at .01, and indicated 90.50 percent of predictive power, which were written the forecasting equation as follows.

             Forecasting equation in raw score form

              = .538 + .471 (X5) + .226 (X2) + .191 (X4)

             Forecasting equation in standard score form

             y= .503 (Z5) + .270 (Z2) + .212 (Z4)

             6. The guidelines of learning leadership development of administrators that affected the learning organization of schools consisted of three aspects, namely Integration. Creativity and Modern technology implementation on working.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำการเรียนรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้
Keywords
Leadership, Learning Leadership, Learning Organization
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 11,689.21 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 พฤศจิกายน 2566 - 09:35:09
View 262 ครั้ง


^