ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Needs Assessment of Collaborative Leadership Development of Administrators in Schools under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom
ผู้จัดทำ
ขวัญฤดี คนซื่อ รหัส 64421247115 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำนวน 317 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพปัจจุบันมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.51-0.91 และค่าความเชื่อมั่น 0.99 ส่วนด้านสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32-0.74 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 และแบบสอบถามแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ร่วม 2) การตัดสินใจร่วม 3) ความไว้วางใจ 4) ความผูกพันต่อองค์การ และ 5) การสร้างสัมพันธภาพ โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โมเดลการวัดภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (R2 = 4.51, df = 3, p-value = 0.21, GFI = 0.99, AGFI = 0.97,

RMR = 0.00, RMSEA = 0.04) น้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.87-0.98 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ความไว้ วางใจ รองลงมา ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพ ความผูกพันต่อองค์การ การตัดสินใจร่วม และวิสัยทัศน์ร่วม ตามลำดับ

          2. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และสภาพที่ควรจะเป็นของภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

          3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ การตัดสินใจร่วม รองลงมา ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพ วิสัยทัศน์ร่วม ความไว้วางใจ และความผูกพันต่อองค์การ ตามลำดับ

          4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบรวมพลังของผู้บริหารโรงเรียน มี 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านการตัดสินใจร่วม ได้แก่ สารสนเทศ และเป้าประสงค์ 2) ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการเข้าใจผู้อื่น และ 3) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

Abstract

          The purposes of this study was investigate the needs of collaborative leadership development of administrators in schools. The participants comprised 317 administrators and teachers under the Secondary Educational Service Area Office Nakhon Phanom, selected using multi-stage random sampling. The instruments used in data collection were a set of 5-rating scale questionnaires, which the part of current state indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.51-0.91, and reliability index was at 0.99, whereas the part of desirable state indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discrimination power index ranged between 0.32-0.74, and reliability index was at 0.96, and a set of questionnaires on guidelines for collaborative leadership of school administrators. Statistical used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Need Index (PNImodified) and confirmatory factor analysis.

          The findings were as follows.

           1. Collaborative leadership of school administrators comprised five components, namely 1) shared vision, 2) shared-decision making, 3) trust,4) organizational commitment and 5) relationships building, which the collaborative leadership development model congruent with empirical data (R2 = 4.51, df = 3, p-value = 0.21, GFI = 0.99, AGFI = 0.97, RMR = 0.00, RMSEA = 0.04) and all factor loading were between 0.87–0.98 with statistical significance at .01. The factor loading of the components prioritized as with trust, relationships building, organization commitment, shared-decision making and shared vision, respectively.

          2. The current state of the collaborative leadership of school administrators, in overall, was at high level, whereas desirable state of the collaborative leadership of school administrators, in overall, was at the highest level.

          3. The needs of collaborative leadership development of school administrators can be prioritized as shared-decision making was the overall in need identification, relationships building, shared vision, trust and organization commitment respectively.

          4. Guidelines of collaborative leadership development of school administrators consisted of three aspects, namely 1) shared-decision making, information and golds. 2) relationships building, communication skill and empathy skills and 3) shared vision, formulating shared vision.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำแบบรวมพลัง การประเมินความต้องการจำเป็น
Keywords
Leadership, Collaborative Leadership, Needs Assessment
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 8,605.77 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 11:35:46
View 259 ครั้ง


^