สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสมรรถนะของผู้บริหารมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.65-0.91 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 ส่วนด้านประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.80 ถึง 1 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.40-0.91 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการเป็นผู้นำทีม 2) ด้านการบริหารตนเอง 3) ด้านการมีวิสัยทัศน์และทักษะเชิงกลยุทธ์ 4) ด้านการวางแผนและการบริหารจัดการ 5) ด้านการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และ 6) ด้านความสามารถในการพัฒนาคน โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานพบว่าโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน พบว่าโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานพบว่าโดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
6. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
7. สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนและการบริหารจัดการ (X4) 2) ด้านการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง (X5) และ 3) ด้านความสามารถในการพัฒนาคน (X6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 64.50 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 1.035 + .610 (X4) + .404 (X5) - .242 (X6)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zy = .632 (Z4) + .465 (Z5) -.280 (Z6)
8. แนวทางพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียน มีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนและการบริหารจัดการ 2) ด้านการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และ 3) ด้านความสามารถ
ในการพัฒนาคน
The objective of this study was to identify administrator competency that affected the effectiveness of instructional administration in schools. The participants of the study comprised 327 administrators and teachers in schools under Nakon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 in academic year 2022. The instrument used in data collection was a set of 5-rating scale questionnaires, which the part of administrator competency indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discriminative power index ranged between 0.65-0.91 and reliability value index at 0.96, and the part of effectiveness of instructional administration indicated validity index ranged between 0.80-1.00, discriminative power index ranged between 0.40-0.91 and reliability value index at 0.96. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, One-way ANOV, Pearson Product – Moment Correlation Coefficients and Stepwise multiple regression analysis.
The findings showed that:
1. The administrator competency comprised six components, namely 1) Team Leading, 2) Self-management, 3) Visioning and strategic skills, 4) Planning and administration, 5) Transformational leadership and 6) Personnel development. All components showed the highest level of suitability.
2. The administrator competency in schools, in overall, was at the highest level.
3. The effectiveness of instructional administration, in overall, was at the highest level.
4. The administrator competency in schools, in the perspective of administrators and teachers, in overall, was different with statistical significance at .01. Considering from working experience, it showed difference with statistical significance at .05.
5. The effectiveness of instructional administration in the perspective of administrators and teachers, in overall, was different with statistical significance at .01. Considering from working experience, it showed no difference with statistical significance.
6. The administrator competency and the effectiveness of instructional administration in schools was positively correlated at high level with statistical significance at .01.
7. The administrator competency predicted the effectiveness of instructional administration in schools in three aspects, namely 1) Planning and administration (X4), 2) Transformational leadership (X5) and Personnel development (X6) with statistical significance at .01. The predictive power showed 64.50 percent which was written in forecasting equation as follows.
Forecasting equation in raw score:
Y = 1.035 + .610 (X4) + .404 (X5) - .242 (X6)
Forecasting equation in standardized score:
Zy = .632 (Z4) + .465 (Z5) -.280 (Z6)
8. The guidelines for administrator competency development of administrators that affected the effectiveness of instructional administration in school composed of three aspects, namely 1) Planning and administration, 2) Transformational leadership and 3) Personnel development.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 7,205.25 KB |