ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย
Digital Technology Efficiency Performed by the Personnel of Provincial Administration Department, Ministry of Interior
ผู้จัดทำ
พงศภัค แสงใสแก้ว รหัส 64426423104 ระดับ ปริญญาโท
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สามารถ อัยกร กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ปลัดอำเภอ สังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 310 คน โดยการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณจากสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัย พบว่า

          1. ปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความสามารถ (x = 4.18) ด้านคุณลักษณะ (x = 4.16) ด้านความรู้ (x = 4.15) และด้านประสบการณ์ (x = 4.13) ตามลำดับ

          2. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากรกรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 4.29) เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความรวดเร็ว (x = 4.33) ด้านความประหยัด หรือคุ้มค่าของทรัพยากร (x = 4.32) ด้านปริมาณงาน (x = 4.27) และด้านคุณภาพงาน (x = 4.26) ตามลำดับ

          3. ปัจจัยด้านทักษะดิจิทัลที่จำเป็นของบุคลากรส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 โดยมีปัจจัยด้านทักษะ ด้านความรู้ (β = .370) ด้านคุณลักษณะ (β = .196) และด้านประสบการณ์ (β = .175) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ = .423

          4. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านดิจิทัลของบุคลากร กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทย ควรมีการการสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน และการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน มีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเน้นการเรียนรู้จากการทำงานจริง การสลับหมุนเวียนกันทำงาน โดยกำหนดแนวทาง วางแผนกำกับ ติดตาม ดูแล อย่างต่อเนื่อง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินงานให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล มีการการติดตั้งอุปกรณ์การใชงานบริเวณที่ตั้งขององค์การ โดยเฉพาะการใชเครื่องมือสื่อสารที่เป็นโทรศัพท์มือถือซึ่งมีการใช้อินเตอร์เน็ต (Internet) ผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) เพื่อรองรับกับบุคลากรและการรติดตอสื่อสารระหว่างบุคลากรด้วยกันหรือการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอก เป็นระบวนการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ การใช้งานและการแบ่งปันพื้นที่การทำงานออนไลน์ การใช้งานโปรแกรมแบ่งปันหน้าจอ การใช้งานโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เรียนรู้การทำงานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่ Video Conference, E–mail, Messaging และเครื่องมือเทคโนโลยีในการแชร์ข้อมูล เพื่อที่จะให้สามารถทำงานร่วมกันได้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Abstract

          The purposes of this study included the following: 1) To study the level of necessary digital skills factors of the personnel of the Provincial Administration Department, Ministry of Interior, 2) To study necessary digital skills that affected  the digital technology efficiency performed by the personnel of Provincial Administration Department, Ministry of Interior, and 3) to explore and gain guidelines on improving the digital technology efficiency performed by the personnel of Provincial Administration Department, Ministry of Interior. The sample group consisted of 310 Deputy District Chiefs who reported to the Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. The size of the sample was calculated by using Yamane's formula. The tool used to collect the data was a set of questionnaires and statistics employed for data analysis were frequency, percentage, mean (x), standard deviation, and Multiple Regression Analysis.

          The study revealed these results:

          1. Factors in necessary digital skills of the personnel of the Provincial Administration Department, Ministry of Interior, as a whole, were at a high level (x = 4.16). When considering each aspect, it was found that all aspects of the personnel’s necessary digital technology skills were also at a high level. Ranking from the highest to the least skills, the personnel’s digital capacities contained the highest mean (x = 4.18); their characteristics or qualities gained the second highest mean (x = 4.16); their knowledge was at the third highest mean (x = 4.15); and their experience was at the lowest (x = 4.13), respectively.

          2. The overall efficiency of the digital technology performed by the personnel of the Provincial Administration Department, Ministry of Interior, was at a high level (x = 4.29). Regarding all aspects of the personnel’s digital technology efficiency, the speed had the highest mean (x = 4.33);  cost saving or cost-effectiveness of the resources gained the second highest mean (x = 4.32); the quantity of work was at the third highest mean (x = 4.27) while the quality of work was at the lowest mean (x = 4.26), respectively.

          3. The necessary digital technology skills significantly influenced on the digital technology efficiency performed by the personnel of the Provincial Administration Department, Ministry of Interior at <.05 statistical level. Of all necessary digital skills, the personnel’s knowledge had the highest influence (β = .370); their qualities or traits had the second most influence (β = .196); and their experience had the least influence (β = .175). Altogether, these factors of digital technology skills had the predictive coefficient of .423 for foretelling the efficiency of digital technology performed by the personnel of the Department of Provincial Administration, Ministry of Interior.

          4. Several guidelines were suggested for developing the digital technology efficiency performed by the personnel of the Department of Provincial Administration, Ministry of Interior. The budget for the procurement of materials and equipment for appropriate technology should be provided so that they can be usefully applied in managing the state affairs, serving the public, as well as facilitating the people’s services. In order to transform their work into the digital model, the personnel should be encouraged to improve and enhance their digital technology skills by emphasizing on learning from real practice; alternating or rotating the jobs; and consistently establishing guidelines, planning, and following on.  The organization should be equipped with communication devices such as mobile telephone connected to Wi-Fi, or internet so as to efficiently enable the contact among the personnel and outsiders, upgrade the personnel’s potential to work together, share their work space, programs, monitors or hold videoconference, send email, send/share messages and they can work together from different places conveniently and fast via online channel.

คำสำคัญ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ดิจิทัล
Keywords
Work efficiency, digital
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 6,169.25 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 13:27:07
View 345 ครั้ง


^