ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร
Development of a New Normal Administration Model Based on Good Governance Principles of Schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Offices
ผู้จัดทำ
พลชัย ชุมปัญญา รหัส 64632233108 ระดับ 64632233108
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2566
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.วันเพ็ญ นันทะศรี กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตาม หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบของรูปแบบ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบยืนยันองค์ประกอบ และแบบตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน โดยศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังเกี่ยวกับการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 242 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 388 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 4 การพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. องค์ประกอบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนการบริหารวิถีใหม่ 2) ด้านวิธีการทำงานวิถีใหม่ 3) ด้านการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้วิถีใหม่ 4) ด้านการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ 5) ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้วิถีใหม่ 6) ด้านการบริหารทรัพยากรวิถีใหม่ 7) ด้านการเสริมสร้างความร่วมมือวิถีใหม่ และ 8) ด้านความปลอดภัย โดยในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

             2. รูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) โครงสร้างของรูปแบบ 4) กระบวนการจัดการ และ 5) กลไกของรูปแบบ ในส่วนขององค์ประกอบกระบวนการจัดการ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบย่อยที่เป็นองค์ประกอบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารทรัพยากรวิถีใหม่ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ 3) ด้านการบริหารหลักสูตรการเรียนรู้วิถีใหม่ 4) ด้านการวัดประเมินผลการเรียนรู้วิถีใหม่ 5) ด้านการเสริมสร้างความร่วมมือวิถีใหม่ 6) ด้านวิธีการทำงานวิถีใหม่ 7) ด้านความปลอดภัย และ 8) ด้านการวางแผนการบริหารวิถีใหม่ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน อยู่ 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านสังคม และด้านการเมือง

             3. รูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

             4. คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คำชี้แจง 2) บทนำ ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และ 3) รายละเอียดของรูปแบบการบริหารจัดการวิถีใหม่ตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

          This research aimed to develop a new normal administration model based on the principles of good governance of schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Offices. The research was divided into 4 phases. Phase 1 was the intensive review of new normal administration components based on the principles of good governance. The target group of this phase consisted of five experts to confirm the identified components of the model and another group of five experts to check suitability and the possibilities of the components. The tools used in this phase comprised a document analysis form, a components confirmation form and, a suitability and possibilities check form. Phase 2 was the development of a new normal administration model based on the principles of good governance for school by investigating the actual situation and the expected situation of the new normal administration components based on the principles of good governance. The samples were 242 school administrators under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Offices, who were selected using multi-stage random sampling, and focus group discussion of 12 experts. The tools use in this phase were a set of questionnaires and focus group discussion data collection form. Phase 3 was the validation of suitability, possibility, and usefulness of the model. The samples were 388 participants of school administrators and teachers, who were selected using multi-stage random sampling. The instrument employed in this phase was a set of questionnaires. Phase 4 was the development of a manual of the model utilization. The manual was evaluated for suitability by five experts. The data was collected using a set of questionnaires. Statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and needs analysis (PNImodified).

             The findings were as follows.

             1. New normal administration based on the principles of good governance of schools consisted of eight components, namely 1) New Normal Administration Planning, 2) New Normal Working Method, 3) New Normal Learning Curriculum Administration, 4) New Normal Learning Administration, 5) New Normal Learning Evaluation, 6) New Normal Learning Resource Administration, 7) New Normal Collaboration and 8) Safety. The overall components were suitable at the highest level and obtained the possibility at high level.      

             2. The new normal administration model based on the principles of good governance of schools comprised of five components, namely 1) principles of the model, 2) objectives of the model, 3) structure of the model, 4) administration process, and 5) mechanism of the model. In the aspect of the components of administration process, eight sub-components of new normal administration were revealed, namely 1) New Normal Resource Administration, 2) New Normal Learning Administration, 3) New Normal Learning Curriculum Administration, 4) New Normal Learning Evaluation, 5) New Normal Cooperation, 6) New Normal Working Methods, 7) Safety and 8) New Normal Administration Planning. The external factors affected the new normal administration based on the principles of good governance of schools included economic factors, technology factors, social factors and political factors.

             3. All component of the new normal administration model based on the principles of good governance of schools obtained suitability, possibilities and usefulness at the highest level.

             4. The manual for using the new normal administration model based on the principles of good governance of schools consisted of three components, namely

1) instruction, 2) introduction with details of background, importance,objectives, and expected benefits, and 3) contents of the new normal administration model based on the principles of good governance of schools with the suitability at the highest level.

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการวิถีใหม่ หลักธรรมาภิบาล
Keywords
Model Development, New Normal Administration, Good Governance Principles
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 fulltext 12,099.81 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 กุมภาพันธ์ 2567 - 11:46:09
View 1137 ครั้ง


^