สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้และระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูคณิตศาสตร์ จำนวน 167 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80–1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.264-0.485 และค่าความเชื่อมั่น 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้ 2) หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ และ 3) การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก จำนวน 3 องค์ประกอบ องค์ประกอบย่อย จำนวน 14 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ จำนวน 62 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นองค์ประกอบหลักด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบหลักด้านการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ จำนวน 18 ตัวบ่งชี้
3. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 74.05, df = 71, p-value = 0.37902, RMSEA = 0.016, RMR = 0.036, GFI = 0.94, AGFI = 0.91)
4. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูคณิตศาสตร์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to: Development of competency Indicators for mathematics teachers under Sakon Nakhon primary educational service area office 3. The research is divided into 3 phases, Phase 1 focuses on studying ofThe components of Competency for Mathematics Teachers; Phase 2 involves developing and examine the congruence between the structural model of competency indicators; and Phase 3 focuses developing a guide for using the competency indicators of mathematics teachers. The research sample consists of 167 mathematics teachers selected through stratified random sampling. The instrument used in data collection was a 5–rating scale questionnaire. The validity coefficients ranged from 0.80-1.00, the Index of discrimination ranged from 0.264-0.485, and the reliability level was 0.92. Statistical analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis.
The findings were as follows:
1. The components of Competency for Mathematics Teachers information in 3 areas: 1) Learning Management, 2) Curriculum Implementation, and 3) Assessment for learning. All components are showed the appropriateness at the highest level.
2. The competency indicators for Mathematics. Consist of 3 principal components, 14 sub- components, and 62 indicators. These are categorized into:22 indicators for Learning Management; 22 indicators for Curriculum Implementation; and 18 indicators for Assessment for learning.
3. The structural model of mathematics teacher competency indicators was congruent with empirical data. (Chi-Square = 74.05, df = 71,P-value = 0.37902, RMSEA = 0.016, RMR = 0.036, GFI = 0.94, AGFI = 0.91)
4. The guide for using the mathematics teacher competency indicators is showed the appropriateness at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | fulltext | 6,570.43 KB |