ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
แนวทางการแก้ปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Guidelines to Resolve the Problem of Community Affected by the Potash Mine Project : A Case Study in Thakhek District, Khammouane Province, Lao People’s Democratic Republic.
ผู้จัดทำ
เดชศักดา ชมพูสี รหัส 56422319110 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชา ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร สิทธิ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบและวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตชและ 3) ประเมินแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 65 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบและวิธีการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช พบว่า ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสังคมในพื้นที่และบริเวณรอบข้างของบ้านดงใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อาทิ ปัญหาการปนเปื้อนของเกลือที่มีความเค็มมากในสายน้ำห้วยหวายที่เกิดจากการล้นออกของน้ำในบ่อบำบัดน้ำเสียและกองเศษแร่ ปัญหาดินเค็มที่เกิดจากการตกตะกอนของเกลือ และน้ำเค็ม ปัญหาฝุ่นละอองเจือปนในอากาศที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะ การระเบิดพื้นที่ และการขนส่งแร่จากโรงงาน ปัญหาการพังทลายของหน้าดินในบริเวณพื้นที่ขุดค้น พื้นที่กองเศษดินเศษแร่ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และระบบนิเวศวิทยา และการประเมินปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 4 ลำดับ ดังนี้ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ( = 3.94) ด้านสังคม ( = 3.90) ด้านเศรษฐกิจ ( = 3.98) และด้านสุขภาพของคนในชุมชน ( = 3.97) และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวม จำนวน 28 คน เห็นด้วยร้อยละ 100 ทุกข้อ

2. การสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช พบว่า มี 8 โครงการ คือ 1) โครงการดำเนินการประชาสัมพันธ์ และการสร้างความเข้าใจให้แก่สาธารณชน 2) โครงการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมในหลายรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้การปฏิบัติการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3) โครงการใช้มาตรการกำกับ และควบคุมกิจกรรมการทำเหมืองแร่ให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่ดีที่หน่วยงานภาครัฐ และ 4) โครงการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อติดตาม ฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 5) โครงการสร้างกลไกการร้องทุกข์และไกล่เกลี่ยเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งอยู่ในระดับขั้นบ้านและขั้นเมือง 6) โครงการเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่ท้องถิ่นและชุมชนในการเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและลบเพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวังปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 7) โครงการสร้างกลไกในการเฝ้าระวังติดตาม และตรวจสอบโดยระบบภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนภาคประชาชน ภาครัฐ ผู้ประกอบการและนักวิชาการ) และ 8) โครงการนำใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการบำบัดและฟื้นฟูพื้นที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช

3. ผลการประเมินแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่โปแตช : กรณีศึกษาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่พัฒนาขึ้นพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.03)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the current problem state of the effects on, and how to solve the problems of, the community affected by the potash mining project – a case study in Thakhek district, Khammouane province, Lao PDR, 2) to create a guideline to solve problems of the community affected by the potash mining project, and 3) to assess the guideline of solving problems in the community affected by the potash mining project. A sample selected by purposive sampling was 65 people. The instruments used in study were a semi-structured interview guide and a rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, and standard deviation.

Findings of the study were as follows:

1. The current problem state of the effects on, and how to solve the problems of, the community affected by the potash mining project were found that the problem of the community affected by the potash mining project was at high level (X̅ = 3.94). Considering it by aspect in order of 4 rankings from higher to lower means respectively, it showed as follows: the environmental changing aspect (X̅ = 3.94); the social aspect (X̅ = 3.90); the economic aspect (X̅ = 3.98) and the aspect of health of people in the community (X̅ = 3.97). Twenty-eight of them or 100% agreed with the suggestions on ways to solve the problems of the community affected by the potash mining project in Thakhek district, Khammouane province, Lao LPD.

2. The created guideline to solve problems of the community affected by the potash mining project was composed of 8 projects: 1) public relations and creating understanding to the public, 2) arrangement of participatory activities in various forms for the public to learn how to practice and monitor the environmental effects, 3) using the measures to direct and control mining activities under the rules and regulations and good practice for the government agencies, 4) appointing the team to follow-up, restore and solve problems in the area efficiently and effectively, 5) creating mechanisms for resolving grievances and conflict resolution at village and district levels, 6) building capacity for local governments and communities to learn and creating understanding of the positive and negative effects leading to the efficient surveillance of problem, 7) creating mechanisms for surveillance, follow-up, and examination by the 4-side associate system (public representatives, government sector, entrepreneurs and academics), and 8) adopting appropriate technologies for  treatment and rehabilitation of the areas affected by the potash mining project.

3. The result of assessment of the developed guideline to solve problems of the community affected by the potash mining project by taking Thakhek district, Khammouane province, Lao PDR as a case showed that it was at high level (X̅ = 4.03).

คำสำคัญ
แนวทางการแก้ปัญหาชุมชน, ผลกระทบจากเหมืองแร่โปแตช
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 104.48 KB
2 ประกาศคุณูปการ 90.10 KB
3 บทคัดย่อ 127.90 KB
4 สารบัญ 112.50 KB
5 บทที่ 1 133.71 KB
6 บทที่ 2 415.03 KB
7 บทที่ 3 173.56 KB
8 บทที่ 4 459.90 KB
9 บทที่ 5 152.94 KB
10 บรรณานุกรม 125.61 KB
11 ภาคผนวก ก 171.56 KB
12 ภาคผนวก ข 286.55 KB
13 ภาคผนวก ค 158.11 KB
14 ภาคผนวก ง 79.12 KB
15 ภาคผนวก จ 267.91 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 84.18 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
23 ธันวาคม 2560 - 08:45:31
View 945 ครั้ง


^