สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน : กรณีศึกษา บ้านกะบุด-เชียงแหวน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน และ 3) ประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการอนุรักษ์ป่าป้องกัน พบว่า ป่าป้องกัน บ้านกะบุด-เชียงแหวน ถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ความอุดมสมบูรณ์ของป่าป้องกันลดน้อยลง ปัญหาการอนุรักษ์ป่าป้องกัน พบว่า ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกัน เช่น กฎระเบียบ ข้อบังคับของป่าป้องกัน และขอบเขตพื้นที่ป่าป้องกันไม่ชัดเจนและขาดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังระหว่างประชาชนกับภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ส่วนความต้องการอนุรักษ์ป่าป้องกัน พบว่า ประชาชนต้องการให้เยาวชน ในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน ให้มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมแรง และร่วมใจกันในฟื้นฟูดูแลรักษาป่าป้องกัน ให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกัน และให้มีเครือข่ายอนุรักษ์ และป้องกันการบุกรุกป่าป้องกัน และแนวทางการพัฒนา เพื่อการอนุรักษ์ป่าป้องกัน คือ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกันแบบยั่งยืน กฎระเบียบ ข้อบังคับของการอนุรักษ์ และป้องกันการบุกรุกป่าป้องกัน และการลาดตะเวนในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน การจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน และเครือข่ายการอนุรักษ์ และป้องกันการบุกรุกป่าป้องกันเน้นการฟื้นฟู การดูแลรักษาป่าป้องกันโดยร่วมมือระหว่างภาครัฐ และประชาชนในชุมชน
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน: กรณีศึกษา บ้านกะบุด-เชียงแหวน เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย 1 ยุทธศาสตร์ 3 โครงการ คือ 1) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าป้องกันแบบยั้งยืน กฎระเบียบ ข้อบังคับของการอนุรักษ์ป่าป้องกัน 2) การจัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนในชุมชนในการอนุรักษ์ป่าป้องกัน และ 3) การสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์และป้องกันการบุกรุกป่าป้องกันเน้นการฟื้นฟู การดูแลรักษาป่าป้องกันโดยร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนในชุมชน
3. ผลการประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้าใจ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this study were: 1) to investigate the present state, problems and needs of developing the understanding, awareness and participation in conserving the Protected Forest through the use of Kabut-Chiangwaen village, Thakhek district, Khammuan province, Lao People Democratic Republic as a case study, 2) to create a strategy to develop understanding, awareness and participation in conserving the Protected Forest, and 3) to assess the strategy to develop understanding, awareness and participation in conserving the Protected Forest. The target group comprised 45 people. The instruments used in collecting data were a structure interview guide and a rating scale questionnaire. Statistics used in analysis of data were frequency, percentage, mean and standard deviation.
The findings revealed as follows:
1. The current state of conserving the Protected Forest was found that the Protected Forest of Kabut-Chiangwaen village was destroyed a lot. The resourcefulness of the Protected Forest declined. The problems of conserving the Protected Forest were found that people lacked knowledge and understanding of conserving the Protected Forest such as rules and regulations of the Protected Forest. The extent of the Protected Forest areas was not clear. There was a lack of serious participation between people and the government sector concerned. As for the needs of conserving the Protected Forest, it was found that people wanted youths in the community to have awareness of conserving the Protected Forest. They needed the concerned government agencies to be united in action and spirit in restoring and maintaining the Protected Forest. They desired that people in the community should have correct knowledge and understanding about conserving the Protected Forest and should have a network for conservation and protection of the Protected Forest. The development guidelines for conserving the Protected Forest are to hold a workshop for providing knowledge and understanding to people in the community concerning sustainable conservation of the Protected Forest, rules and regulations of conserving and preventing invasion of the Protected Forest, patrolling in conserving the Protected Forest, arranging activities to raise awareness to the public especially the youths in the community in conservation of the Protected Forest, creating a conserving network for preventing invasion and emphasizing, maintaining and caring the Protected Forest through the participation between t the government sector and the people in the community.
2. The strategy to develop understanding, awareness and participation in conserving the Protected Forest by taking Kabut-Chiangwaen village in Thakhek as a case study comprised 3 projects of strategy: 1) holding a workshop of providing knowledge and understanding to people in the community concerning sustainable conservation of the Protected Forest through the study of rules and regulations of Protected Forest conservation, 2) arranging activities of raising awareness to people especially the youths in the community for conserving the Protected Forest, and 3) creating a network for conserving and preventing invasion of the Protected Forest emphasizing recovery, care and maintenance of the Protected Forest through the cooperation between the government sector and the people in the community.
3. The result of assessing the strategy to develop understanding, awareness and participation in conserving the Protected Forest showed its appropriateness at high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 75.37 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 65.80 KB |
3 | บทคัดย่อ | 110.09 KB |
4 | สารบัญ | 151.02 KB |
5 | บทที่ 1 | 159.86 KB |
6 | บทที่ 2 | 603.46 KB |
7 | บทที่ 3 | 175.32 KB |
8 | บทที่ 4 | 220.82 KB |
9 | บทที่ 5 | 111.96 KB |
10 | บรรณานุกรม | 259.67 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 155.94 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 84.43 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 87.31 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 68.36 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 142.02 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 69.43 KB |