สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ 2) หาแนวทางและดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ และ 3) ติดตามผลในการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 15 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลและกลุ่มผู้นิเทศ จำนวน 6 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติการ 3) การสังเกตการณ์ 4) การสะท้อนกลับดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อน-หลัง การประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละความก้าวหน้า การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ พบว่า ในด้านการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และด้านคุณภาพเด็ก ยังไม่เป็นระบบและยังไม่หลากหลายที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กเล็ก เช่น สื่อและอุปกรณ์มีสภาพไม่เพียงพอต่อการจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ การจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
1.2 ปัญหาปัจจุบันเกี่ยวกับการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีทักษะความรู้และความเข้าใจในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ในการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อยู่ในระดับน้อย
2. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ และ 3) การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96, S.D. = 0.31)
3.2 การดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ โดยภาพรวม พบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการศูนย์เด็กเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และมีความก้าวหน้าร้อยละ 33.00 2) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยเท่ากับ 3.85 และมีความก้าวหน้าร้อยละ 28.20 3) ด้านคุณภาพเด็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยเท่ากับ 3.80 และมีความก้าวหน้าร้อยละ 31.80 สรุปโดยภาพรวมในวงรอบที่ 2 สูงกว่าวงรอบที่ 1 เฉลี่ยเท่ากับ 3.84 และมีค่าร้อยละความก้าวหน้า เท่ากับ 29.00
3.3 การนิเทศภายใน พบว่า ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยได้รับความรู้ความเข้าใจและทักษะตลอดจนเทคนิควิธีการดำเนินงานตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติได้เป็นอย่างดี
The purposes of this research were to 1) examine conditions and problems of operations in accordance with the National Standard of Child Center; 2) establish the guidelines for potential development of child care teachers in implementing the National Standard of Child Center into practice; and 3) follow up the effects after the implementation. The target group comprised 15 co-researchers and six informants and supervisors. This research employed two spirals of a 4-stage participatory action research comprising 1) planning, 2) action, 3) observation, and 4) reflection. The research instruments included a pre-posttest evaluation after the workshop, an interview form, an observation form, and an assessment form. Quantitative data were analyzed through percentage, mean, standard deviation and percentage of progress. The qualitative analyses were also carried out by content analysis technique.
The findings were as follows:
1. Conditions and problems of implementation in accordance with the National Standard of Child Center at the Child Development Center under Sang Kho Sub-district Administration Organization, Phu Phan District, Sakon Nakhon Province revealed that:
1.1 In term of current conditions, the administrative management, instructional process for children development, and quality of children were unsystematic and limited to provision in nurturing children’s learning; for instance, insufficient media and equipment for learning experience management, and learning resources from both inside and outside of the classroom.
1.2 In term of current problems, the child care teachers had limited knowledge and understanding in operating the Child Development Centers to promote and support administrative management for children development based on the National Standard of Child Center.
2. The proposed guidelines for developing the potential of child care teachers to operate administrative management based on the National Standard of Child Center involved: 1) Workshop; 2) Actual Practice Based on the National Standard of Child Center; and 3) Internal Supervision.
3. The effects after the implementation found that:
3.1 In terms of a workshop, the researcher and co-researchers obtained better knowledge and understanding concerning operations based on the National Standard of Child Center, as a whole at a high level ( = 3.96, S.D. = 0.31)
3.2 In terms of operations based on the National Standard of Child Center in overall: 1) Administrative management as a whole was at a high level with the mean scores of 3.88 and the percentage point progress of 33.00; 2) Instructional process for child development as a whole was at a high level with the mean score of 3.85 and the percentage point progress of 28.20; 3) Quality of children as a whole was at a high level with the mean score of 3.80 and the percentage point progress of 31.80. This could be concluded that in overall, the second spiral obtained a higher level of mean scores than the first spiral, with the mean scores of 3.84 and the percentage point progress of 29.00.
3.3 In terms of internal supervision, the researcher and the co-researchers gained better knowledge and understanding, including skills and operational approaches based on the National Standard of Child Center.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 103.92 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 595.70 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 61.97 KB |
4 | บทคัดย่อ | 140.23 KB |
5 | สารบัญ | 215.53 KB |
6 | บทที่ 1 | 242.66 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,109.61 KB |
8 | บทที่ 3 | 471.74 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,388.90 KB |
10 | บทที่ 5 | 226.23 KB |
11 | บรรณานุกรม | 236.80 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 149.20 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 2,985.57 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 691.91 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 634.33 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 770.78 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 1,256.99 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 98.04 KB |