สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.21 – 0.78 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ตัวบ่งชี้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย และ 83 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ด้านค่าตอบแทน จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน จำนวน 17 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ และ 5) ด้านบทบาทผู้บริหาร จำนวน 19 ตัวบ่งชี้
2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครู ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค - สแควร์ (Chi - square) เท่ากับ 93.27 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 96 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p - value) เท่ากับ 0.55 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับ (CN) เท่ากับ 685.72 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 83 ตัวบ่งชี้ มีค่าระหว่าง 0.42 – 0.95
The purposes of this study were to develop and examine the validity of the structural equation model of morale of teachers and empirical data. The study consisted of two phases: phase 1) the development of Instructional teachers’ morale indicators of teachers by using the literature review; phase 2) was to validate of the structural equation model of teachers’ morale in schools by Confirmatory Factor Analysis (CFA). The data were collected from a sample of 500 teachers by Multistage Random Sampling. The research instruments were: a rating scales questionnaire with content validity valve between 0.60 to 1.00 and the reliability was 0.97 by Cronbach's alpha coefficient, the discriminative power was 0.21 to 0.78, the data was analyzed by using the statistical software program.
The results were as follows:
1. The teachers’ morale indicators consisted of 5 principle components, 20 sub-components and 83 indicators with; the compensation with 16 indicators, the satisfaction with 20 indicators, the working environment with 11 indicators, the career path with 11 indicators and the administrator role with 19 indicators.
2. The structural equation model of Instructional teachers’ morale indicators has the goodness of fit with the empirical data as displayed by the statistical values as follows : Chi-square = 93.27, degree of freedom (df) = 96, p = 0.55 goodness-of-fit index (GFI) = 0.98, adjusted goodness-of-fit index (AGFI) = 0.96 and root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.000 and Critical N (CN) = 685.72 and the factor loading were 0.42 – 0.95 of 83 indicators.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 87.47 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 430.77 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 38.96 KB |
4 | บทคัดย่อ | 80.29 KB |
5 | สารบัญ | 234.68 KB |
6 | บทที่ 1 | 326.59 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,827.32 KB |
8 | บทที่ 3 | 333.17 KB |
9 | บทที่ 4 | 2,446.79 KB |
10 | บทที่ 5 | 345.10 KB |
11 | บรรณานุกรม | 302.83 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 147.13 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 3,135.06 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 288.18 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 180.90 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 606.06 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 7,242.08 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 52.92 KB |