สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุและวัตถุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุ และวัตถุ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุและวัตถุ โดยการจัด การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุและวัตถุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งดำเนินการทดลองโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุและวัตถุชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.70/78.46 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุและวัตถุ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วัสดุและวัตถุ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุและวัตถุ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
The purposes of this research were to: 1) develop lesson plans based on STEM education on the topic of Materials and Objects for Prathomsuksa 3 students to meet the efficiency of 75/75; 2) compare creative thinking of Prathomsuksa 3 students both before and after learning on the topic of Materials and Objects through the learning management based on STEM Education; 3) compare learning achievement of Prathomsuksa 3 students both before and after learning through the learning management based on STEM education on the topic of Materials and Objects; and 4) examine the satisfaction level of Prathomsuksa 3 students toward the developed learning management based on STEM education on the topic of Materials and Objects. The samples, obtained through cluster random sampling, consisted of 20 Prathomsuksa 3 students studying at Ban Non Sawan School under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area. The research instruments included lesson plans, creative thinking assessment, a learning achievement test and a satisfaction assessment. The research employed a one-group pretest-posttest experimental design. The quantitative data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation, and Dependent Samples t-test.
The results were as follows:
1. The efficiency of lesson plans based on STEM education on the topic of Materials and Objects for Prathomsuksa 3 students was 78.70/78.46, which met the set criterion of 75/75.
2. Creative thinking of Prathomsuksa 3 students on the topic of Materials and Objects after learning through the developed learning management based on STEM education was higher than that of before the intervention at a .05 Level of statistical significance.
3. Learning achievement of Prathomsuksa 3 students on the topic of Materials and Objects after learning through the developed learning management based on STEM education was higher than that of before the intervention at a .05 Level of statistical significance.
4. The satisfaction of Prathomsuksa 3 students after toward the developed learning management based on STEM education on the topic of Materials and Objects, was at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 153.91 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 223.54 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.21 KB |
4 | บทคัดย่อ | 149.76 KB |
5 | สารบัญ | 247.46 KB |
6 | บทที่ 1 | 270.45 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,112.65 KB |
8 | บทที่ 3 | 591.44 KB |
9 | บทที่ 4 | 674.19 KB |
10 | บทที่ 5 | 298.04 KB |
11 | บรรณานุกรม | 198.41 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,331.72 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 762.96 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 421.03 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,947.80 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 957.80 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 104.23 KB |