ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Development of an Instructional Model in the Fundamental Computer Information Course Using the Blended Learning Concepts for Undergraduate Student in Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้จัดทำ
นิติธาร ชูทรัพย์ รหัส 533JCe202 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร บุญใช้
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 29 คน และควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความสามารถในการรู้สารสนเทศสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t–test) 

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการการเรียนสอนที่พัฒนาขึ้น มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 3) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 4) หลักการ 5) วัตถุประสงค์ 6) เนื้อหา 7) กระบวนการเรียนการสอน และ 8) การวัดและประเมินผล โดยมีวัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้สารสนเทศของนักศึกษา กระบวนการเรียนการสอนมี 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนปกติ (Face to Face Learning) ซึ่งใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบจิกซอว์ (Jigsaw) และการสอนแบบชี้แนะ และ 2) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการการเรียนสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) นักศึกษาทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการรู้สารสนเทศหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการรู้สารสนเทศหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purpose of this research was to develop and investigate the results of experiment in using an instructional model in the computer course Fundamental Computer Information through the use of blended learning concepts for undergraduate students in Sakon Nakhon Rajabhat University. The study procedure included 3 steps: 1) develop an instructional model, 2) create instruments for collecting data, and 3) experiment in using the instructional model. The sample was first-year undergraduate students enrolled in the first semester of academic year 2015 at Sakon Nakhon Rajabhat University who were divided into 2 groups–a treatment group of 29 students and a control group of 25 students. The instruments used in data collection were a test of learning achievement and a form for measuring the ability in information literacy. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test. 

The findings of study were as follows:

1. The developed instructional model was composed of 8 components: 1) title of the model, 2) the origin and significance of the model, 3) conceptual and basic theory, 4) principle, 5) objective, 6) content, 7) instructional process, and 8) measurement and evaluation. The objectives of the instructional model were to develop students’ learning achievement and information literacy. There were two forms of instructional process: 1) face-to-face instruction in a regular class in which management of cooperative learning using jigsaw technique was employed, together with coaching instruction, and 2) learning online. The result of assessing the appropriateness of the instructional model by experts showed that the model was appropriate at the highest level.

2. The results of experiment in using the developed instructional model showed as follows: 1) Students both in the treatment and control groups had significantly higher learning achievement and information literacy after learning than those before learning at the .01 level; 2) the students in treatment group had significantly higher learning achievement and information literacy after learning than those in control group at the .05 level.

คำสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอน, คอมพิวเตอร์พื้นฐาน, คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน, การเรียนรู้แบบผสมผสาน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 63.27 KB
2 ประกาศคุณูปการ 30.20 KB
3 บทคัดย่อ 54.83 KB
4 สารบัญ 66.26 KB
5 บทที่ 1 88.25 KB
6 บทที่ 2 789.57 KB
7 บทที่ 3 77.80 KB
8 บทที่ 4 219.64 KB
9 บทที่ 5 106.49 KB
10 บรรณานุกรม 108.18 KB
11 ภาคผนวก ก 207.02 KB
12 ภาคผนวก ข 757.98 KB
13 ภาคผนวก ค 3,159.27 KB
14 ประวัติย่อของผู้วิจัย 32.58 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 ธันวาคม 2560 - 11:12:50
View 1219 ครั้ง


^