สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบึงของหลงวิทยา จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ทดลองได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน และ 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบที แบบกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were: 1) to compare the achievement of the students between before and after learning through the Project - based Learning, 2) to compare the problem solving ability in science of the students between before and after learning through the Project - based Learning, and 3) to study the satisfaction of the students toward to the Project - based Learning. The sample was consisted of 32 Prathom Suksa 6 students in Bungkonglong wittaya School, during the semester of the 2/2013.The instruments used in this research were : 1) the 8 lesson plans and 2) the data collecting instruments which were learning achievement test, the problem solving ability test and the satisfaction toward the Project - based Learning test. The statistics used for analyzing data were mean, standard deviation and dependent t-test.
The results of the study were as follows : 1) The achievement after learning through the use the Project - based Learning was higher than before learning with the statistical significance of .05, 2) The ability in science problem solving after learning through the Project - based Learning was higher than before learning with the statistical significance of .05, and 3) The average score of the satisfaction toward the Project - based Learning was good.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 55.64 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 42.39 KB |
3 | บทคัดย่อ | 70.02 KB |
4 | สารบัญ | 96.11 KB |
5 | บทที่ 1 | 134.43 KB |
6 | บทที่ 2 | 702.43 KB |
7 | บทที่ 3 | 229.72 KB |
8 | บทที่ 4 | 112.98 KB |
9 | บทที่ 5 | 99.62 KB |
10 | บรรณานุกรม | 145.53 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 464.19 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 435.29 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 1,350.57 KB |
14 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 64.80 KB |