ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรพื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน ตำบลกกปลาซิว อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
The Geographical Information System of Water Management for Agriculture on the Mountain Plain in a Shallow-to-Deep Undulating Area, Phuphan Mountain Range, Plasew Sub-district, Phuphan District, Sakon Nakhon Province
ผู้จัดทำ
สุขขี พรมพินิจ รหัส 55425117116 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชา วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.จำนง วงษ์ชาชม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศมณพร สุทธิบาก
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน  ตำบลกกปลาซิว อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา  3) เพื่อประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำ เพื่อการเกษตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ บุคคลากรจากองค์กรบริหารส่วนตำบลกกปลาซิว เจ้าหน้าผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ผู้ใช้ประโยชน์น้ำเพื่อการเกษตร ประชาชนในพื้นที่ ตำบลกกปลาซิว อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 3,676 นาย โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางคำนวณกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 3,676 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน (ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์สภาพและปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขาที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยสภาพและปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา 2) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา 3) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาของการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขาที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ด้าน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) สภาพการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน 3) ปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน และ 4) ข้อเสนอแนะ มีปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร

2.จากการประเมินสภาพและปัญหาการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขาที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน  ทำให้ได้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขาที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน

3. ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.39   ค่าเบี่ยงเบน 0.61

4. ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร พื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน  พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปฎิบัติการ มีค่าเฉลี่ย 4.20 ค่าเบี่ยงเบน 0.77

Abstract

This research aimed: 1) to investigate the state and problems of water management for agriculture on the mountain plain in a shallow-to-deep undulating area, Phuphan Mountain range, Kok Plasew sub-district, Phuphan district, Sakon Nakhon province, 2) to develop a geographical information system of water management for agriculture on the mountain plain in a shallow-to-deep undulating area, Phuphan Mountain range, Kok Plasew sub-district, Phuphan district, Sakon Nakhon province, and 3) to evaluate satisfaction with the geographical information system of water management for agriculture in the area. The sample of this study was personnel from Kok Plasew Sub-district Administration Organization, concerned officers performing their duty in the area, users of water for agriculture, and people in the Kok Plasew sub-district area, Phuphan district, Sakon Nakhon province totaling 3,676 people. The sample size was determined from calculation using the Krejcie and Morgan’s table and a sample of 351 people was derived as respondents to the interview of the state and problems of water management for agriculture. The instruments used were: 12) a questionnaire, 23) a geographical information system of water management for agriculture on the mountain plain in a shallow-to-deep undulating area in the Phuphan Mountain range, 3) a form for assessing efficiency of the geographical information system of water management, and 4) a questionnaire of satisfaction with the geographical information system of water management. Statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation.

Findings of the study were as follows.

1. The state and problems of water management for agriculture could be divided into 4 aspects: 1) general data, 2) the state of water management for agriculture in the area, 3) the problems of water management for agriculture in the area, and 4) suggestions for solving problems of water management for agriculture.

2. From assessment of the state and problems of water management for agriculture in the area, the system of geographical information in water management for agriculture was derived.

3. Efficiency of the geographical information system of water management for agriculture in the area as a whole was at high level with a mean score of 4.39 and standard deviation of 0.61.

4. Satisfaction among the users of geographical information system of water management for agriculture in the area was at high level with a mean score of 4.20 and standard deviation of 0.77.

คำสำคัญ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์,ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์การจัดการน้ำเพื่อการเกษตร, ที่ราบลุ่มเชิงเขา ที่ลอนตื้นถึงลอนลึกเทือกเขาภูพาน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 43.18 KB
2 ประกาศคุณูปการ 44.02 KB
3 บทคัดย่อ 81.28 KB
4 สารบัญ 161.03 KB
5 บทที่ 1 125.20 KB
6 บทที่ 2 1,785.07 KB
7 บทที่ 3 180.55 KB
8 บทที่ 4 2,684.35 KB
9 บทที่ 5 156.07 KB
10 บรรณานุกรม 77.10 KB
11 ภาคผนวก ก 1,479.36 KB
12 ภาคผนวก ข 942.41 KB
13 ภาคผนวก ค 276.83 KB
14 ภาคผนวก ง 92.78 KB
15 ภาคผนวก จ 875.95 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 56.02 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 ธันวาคม 2560 - 15:08:52
View 366 ครั้ง


^