ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความรู้ในการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสกลนคร
Knowledge in Keeping Expenditure Accounts in the Elections of Sub-District Administration Organizations in SakonNakhon Province
ผู้จัดทำ
สุริยา วงษาแก้ว รหัส 55426423104 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร. ชนินทร์ วะสีนนท์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้สมัครรับเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลที่ในการเลือกตั้งปี 2555 ว่ามีผลต่อความรู้ในการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 28 แห่ง 9 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 317 คน ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportional Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะแบบให้ตอบยอมรับหรือตอบปฏิเสธ (Yes –No Question) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square –test)

ผลการวิจัยพบว่า

ระดับความรู้ในการจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งในด้านกฎหมายพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งตอบแบบสอบถามได้ถูกร้อยละ 72.51 ตอบผิดร้อยละ 27.49 ด้านประเภทของบัญชีฯ ตอบถูกร้อยละ 76.55 ตอบผิดร้อยละ 23.45 ด้านการจัดทำบัญชีตอบถูก 69.99 ตอบผิด 30.01 โดยภาพรวมสรุปได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้ง ตอบถูกร้อยละ73.01 และตอบผิดร้อยละ 26.99 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แยกตามลักษณะส่วนบุคคลพบว่า

1. เพศไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการจัดทำบัญชีฯ

2. อายุมีความสัมพันธ์กับการจัดทำบัญชีฯมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และผู้มีอายุระหว่าง 25-39 ปี จะมีความรู้มากกว่า กลุ่มอายุอื่น 

3. ระดับการศึกษามีผลต่อระดับความรู้ต่อการจัดทำบัญชีฯมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา-ปวช จะมีระดับความรู้มากกว่ากลุ่มระดับการศึกษาอื่น 

4. สถานภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการจัดทำบัญชีฯ  

5. รายได้ต่อเดือนความสัมพันธ์ต่อความรู้ต่อการจัดทำบัญชีฯในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยผู้มีรายได้ 10,001-20,000 บาท/เดือน  จะมีความระดับความรู้มากกว่ากลุ่มอื่น

6. จำนวนครั้งที่สมัครไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการจัดทำบัญชีฯ

7. ตำแหน่งที่สมัครไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ในการจัดทำบัญชีฯ

Abstract

The purpose of this study was to investigate whether knowledge about keeping expenditure accounts of the elections among the election candidates of SakonNakhon sub-district administration organizations in election year 2012 was affected by different personal backgrounds. A sample was 317 election candidates in 28 sub-district administration organizations of 9 districts in SakonNakhon province, who were selected by proportional random sampling. The instrument used in study was a questionnaire asking for information with yes-no questions. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Chi-square test.

Findings of the study were as follows:

According to the election candidates’ knowledge about keeping expenditure accounts of the elections in the legal aspect, it was found that 72.51% of the questions were answered correctly while 27.49% of them were answered wrong; 76.51% of the questions of knowledge about keeping accounts got right while 30.01% got wrong. It can be concluded that 73.01% of the questions of knowledge among the election candidates got right, while 26.99% of them got wrong. The analysis of the relationship based on personal background disclosed as follows:

1. Sex had no relationship with knowledge in keeping accounts.

2. Age had a significantly positive relationship with keeping accounts at the .05 level. Those whose age was in the 25-39 year range had higher knowledge than those in other age groups.

3. Educational attainment had a significantly positive relationship with knowledge of keeping accounts at the .05 level. Those whose educational attainment was at secondary level or equivalent had higher knowledge than those in other educational attainment groups.

4. Status had no relationship with knowledge in keeping accounts.

5. Income per month had a significantly positive relationship with knowledge in keeping accounts at the .05 level. Those whose income per month was in the 10,001-20,000 baht range/month had higher knowledge than those in other income-per-month groups.

6. The number of times for which the candidates had applied in being elected had no relationship with knowledge in keeping accounts.

7. The position for which the candidates had applied had no relationship with knowledge in keeping accounts.

คำสำคัญ
การจัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง, องค์การบริหารส่วนตำบล
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 92.41 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 526.35 KB
3 ประกาศคุณูปการ 41.69 KB
4 บทคัดย่อ 98.76 KB
5 สารบัญ 259.36 KB
6 บทที่ 1 108.91 KB
7 บทที่ 2 689.93 KB
8 บทที่ 3 186.20 KB
9 บทที่ 4 711.70 KB
10 บทที่ 5 150.01 KB
11 บรรณานุกรม 130.79 KB
12 ภาคผนวก ก 68.75 KB
13 ภาคผนวก ข 160.96 KB
14 ภาคผนวก ค 89.57 KB
15 ภาคผนวก ง 104.49 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 43.99 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 ธันวาคม 2560 - 11:04:56
View 536 ครั้ง


^