ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลของนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Model of Effective Waste Management of Kaisornphomvihan City, Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
เวียงคำ แสงสุรีจัน รหัส 57632234116 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิธี การสมดี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การบริหารจัดการขยะมูลฝอย 2) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 3) ให้ข้อเสนอแนวการพัฒนาประสิทธิผล การบริหารจัดการขยะมูลฝอย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เลือกแบบเจาะจง และภาคประชาชน จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของนครไกสอนพมวิหาน พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านและความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องกว่าร้อยละ 80

2. รูปแบบปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยพฤติกรรมมีอิทธิพลสูงสุด (β = .230) รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย (β = .104) และต่ำสุดคือ ความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย (β = .046) ตามลำดับ

3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย พบว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อเสนอแนะโดยให้ความสำคัญกับด้านพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ 1) การสร้างความไว้วางใจ 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การจัดกิจกรรมแบบสาธิต ด้านความรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ 1) การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชน 2) การส่งเสริมความรู้ในเรื่องขยะมูลฝอย 3) การสาธิต และ 4) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เช่น สื่อโฆษณาสื่อทางมือถือ เสียงตามสาย ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ 1) กำหนดผู้รับผิดชอบหลัก 2) การเปิดให้มีการประชุมภาคประชาคมและท้องถิ่น และ 3) การประชาสัมพันธ์ ด้านประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ 1) การคัดเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ 2) การวัดและประเมินผล และ 3) การให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate factors influencing effective waste management, 2) to examine the causal relationship model of the effective waste management, and 3) to provide guidelines on developing the effectiveness of waste management. Mixed methods of qualitative and quantitative research designs had been adopted for the study. Purposively selected, 10 target group and specialists were obtained whereas 400 were gained from the people sector. The samples had been chosen through both stratified and simple random sampling techniques. The instruments consisted of structured interview form and a questionnaire with five rating scales and 0.87 reliability. The statistics employed for data analysis were composed of frequency, percentage, mean, standard deviation, t – test, One – way ANOVA, MLR, and content analysis.

The study revealed these results:

1. Regarding factors influencing effective waste management, these factors, as a whole, had been found at the moderate level: waste management behaviors, knowledge of waste management, participation in waste management and the effectiveness of waste management. The correct knowledge of waste management was found at 80 percent.

2. About the causal relationship model of the effective waste management, the study showed that waste management behaviors, knowledge of waste management, and participation in waste management positively correlated to the effectiveness of waste management at the moderate level and these factors significantly correlated to the effectiveness of waste management at .01 statistical level. When ranking according to the degrees of their influences, it was found that waste management behaviors had the highest influence (β = .230), participation in waste management had the second highest influence (β = .104), and knowledge of waste management had the lowest influence (β = .046).

3. Some guidelines on developing the effectiveness of waste management were provided. The specialists gave the importance to waste management behaviors and recommendations suggested were as the following: 1) building trust, 2) organizing the workshops, and 3) launching the demonstration activities. About the knowledge of waste management, the advice bestowed included these items: 1) creating people’s awareness, 2) promoting knowledge of waste management, 3) demonstrating, and 4) publicizing the information via cell phone ads and public announcement /radio/ community broadcast. As for the people’s participation, these suggestions were provided: 1) appointing the persons in charge of each duty, 2) carrying out the public or local/regional meetings, and 3) employing public relations. Of the effectiveness of waste management, these pieces of guidance were endorsed: 1) selecting the trustable service persons, 2) running the assessment and evaluation, and 3) providing knowledge and understanding of waste management

คำสำคัญ
รูปแบบ, การบริหารจัดการขยะมูลฝอย, สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว, ประสิทธิผล
Keywords
Model, waste management, Lao People’s Democratic Republic, effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 115.64 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 360.53 KB
3 ประกาศคุณูปการ 65.08 KB
4 บทคัดย่อ 166.13 KB
5 บทที่ 1 310.70 KB
6 บทที่ 2 2,037.11 KB
7 บทที่ 3 344.05 KB
8 บทที่ 4 1,317.94 KB
9 บทที่ 5 365.31 KB
10 บรรณานุกรม 314.83 KB
11 ภาคผนวก ก 457.19 KB
12 ภาคผนวก ข 699.46 KB
13 ภาคผนวก ค 100.46 KB
14 ภาคผนวก ง 95.84 KB
15 ภาคผนวก จ 95.53 KB
16 ภาคผนวก ฉ 240.63 KB
17 ภาคผนวก ช 148.86 KB
18 ภาคผนวก ซ 574.48 KB
19 ประวัติย่อของผู้วิจัย 89.64 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
24 เมษายน 2563 - 02:19:31
View 1549 ครั้ง


^