ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ : กรณีศึกษาป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Policy Proposals for Participation in Conserving the National Protected Areas: A Case Study of Hinnamnor National Protected Area, Buarapa District, Khammouane Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
สินนะสอน แสงจันทะวง รหัส 58632234107 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พุฑฒจักร สิทธิ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล, รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ : กรณีศึกษาป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ 3) สร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติและ 4) นำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ กลุ่มเป้าหมาย 88 คน ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ ตัวแทนประชาชนและตัวแทนภาคเอกชน เลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การประชุมเชิงปฏิบัติการและแบบบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ขาดการเข้าร่วมกิจกรรมกับภาครัฐ 2) ภาครัฐดำเนินการขาดการต่อเนื่อง 3) ขาดการประชาสัมพันธ์ 4) ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญงาน 5) ขาดงบประมาณ/วัสดุอุปกรณ์ และ 6) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและปัจจุบันปัญหาการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) ขาดการเข้าร่วมกิจกรรมกับภาครัฐ 2) ภาครัฐดำเนินการขาดการต่อเนื่อง 3) ขาดการประชาสัมพันธ์ 4) ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญงาน 5) ขาดงบประมาณ/ วัสดุอุปกรณ์ และ 6) การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

2. ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ลักษณะส่วนบุคคล 2) การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 3) ภาวะผู้นำ 4) สารสนเทศและเทคโนโลยี 5) หลักธรรมาภิบาล 6) ทรัพยากรมนุษย์ 7) ความยั่งยืน และ 8) งบประมาณ

3. สร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสำรวจป่าและลาดตะเวนป่า มี 5 กิจกรรมหลักและ 25 กิจกรรมรอง ด้านการฟื้นฟูป่าและปลูกป่า มี 5 กิจกรรมหลักและ 21 กิจกรรมรอง ด้านการป้องกันไฟไหม้ป่า มี 4 กิจกรรมหลักและ 17 กิจกรรมรอง ด้านการวางแผนจัดสรรและนำใช้ป่าสงวน มี 5 กิจกรรมหลักและ 21 กิจกรรมรอง ด้านการปักขอบเขตแดนและป้ายขอบเขต มี 3 กิจกรรมหลักและ 10 กิจกรรมรอง

4. การนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้

4.1 ด้านการสำรวจป่าและลาดตะเวนป่า คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการสำรวจป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อและการลาดตะเวนแบบยั่งยืน 2) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมการสำรวจป่าและการลาดตระเวน 3) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฐานข้อมูล (ICT) ขั้นบ้านในการสำรวจป่าและลาดตระเวน 4) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผล และ 5) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.2 ด้านการฟื้นฟูป่าและปลูกป่า คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูและปลูกป่าอย่างยั่งยืน 2) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่การฟื้นฟูป่าและการปลูกป่า 3) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเพาะพันธุ์กล้าไม้ชุมชนและ 4) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชน 5) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการปลูกป่าทดแทน

4.3 ด้านการป้องกันไฟไหม้ป่า คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟไหม้ป่า 2) ส่งเสริม ความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันไฟไหม้ป่า 3) ส่งเสริม และพัฒนาการจัดทำคู่มือการป้องกันไฟไหม้ป่า และ 4) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการติดตาม ควบคุมการป้องกันไฟไหม้ป่า

4.4 ด้านการวางแผนจัดสรรและนำใช้ป่าสงวน คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดสรรนำใช้ป่าไม้อย่างยั่งยืน 2) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เขตป่า 3) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดตั้งกองทุนบ้านเพื่อจัดสรรและนำใช้ป่าสงวน 4) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติในเขตคุ้มครองป่าสงวน และ 5) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

4.5 ด้านการปักขอบเขตแดนและป้ายขอบเขต คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการปักเขตแดนและป้ายขอบเขต 2) ส่งเสริม สนับสนุนการติดตาม ตรวจสอบปักขอบเขตแดนและป้ายป่าสงวน และ 3) ส่งเสริม สนับสนุนความรู้ ความเข้าใจการปักขอบเขตแดนและป้ายขอบเขต

Abstract

The purposes of this study included the following: 1) to investigate the states and problems of the participation in conserving the National Protected Areas: A Case Study of Hinnamnor National Protected Area, Buarapa District, Khammouane Province, Lao People’s Democratic Republic from the past to the present time, 2) to identify the factors in the success of the participation in conserving Hinnamnor National Protected Area, Buarapa District, Khammouane Province, Lao People’s Democratic Republic, 3) to create policy proposals for the participation in conserving the national protected areas, and 4) to bring policy proposals for the participation in conserving the national protected areas into practice. The samples consisted of 48 people who could be classified as representatives from government, non-government or private sectors. They were purposively selected. The instruments employed were semi-structured interview form, workshop accounts and meeting minutes. Content analysis was adopted to discuss the textual results obtained from the research instruments.

The study revealed these findings:

1. The states and problems of the participation in conserving the national protected areas incorporated 6 components: 1) the lack of activity participation from the government sector, 2) the government sector did not conduct these missions continuously, 3) the lack of public relations, 4) there were not experienced personnel, 5) the lack of budget, utensils and materials, and 6) the information was not given and received. 

2. The factors in the success of the participation in conserving the national protected areas included 8 components: 1) individual characteristics, 2) the public relations and dissemination, 3) leadership, 4) the information and technology, 5) the priciples of good governance, 6) human resources, 7) sustainability,and 8) the budget.

3. To create policy proposals for the participation in conserving the national protected areas, 5 aspects had to be considered: 1) protected areas’  exploration and patrolling which could be subdivided into 5 major activities and 25 minor activities, 2) the restoration and reforestation of the protected areas which could be subdivided into 5 main activities and 21 minor activities, 3) wild fire prevention which could be subdivided into 4 major activities and 17 minor activities, 4) protected areas’ zoning, planning and utilization which could be subdivided into 5 major activities and 21 minor activities, and 5) the boundary marking of the protected areas and the establishment of boundary signs of the protected areas which could be subdivided into 3 major activities and 10 minor activities.

4. To bring policy proposals for the participation in conserving the national protected areas into practice, these recommendations had been proposed by the experts:

4.1 Regarding the exploration and patrolling of the protected areas, these suggestions were given: 1) promote and support the participation in sustainably conserving  Hinnamnor National Protected Area, 2) promote and support the participation in developing the exploration and patrolling training curriculum for the protected areas, 3) promote and support the participation in developing the information and technology for the exploration and patrolling of the protected area, 4) promote and support the participation in monitoring the assessment and evaluation, 5) promote and support the participation in local tradition, culture and wisdom.

4.2 Of the restoration and reforestation of the protected areas, these recommendations were proposed: 1) promote and support the participation in the sustainable restoration and reforestation of the protected areas, 2) promote and support the participation in mapping the restoration and reforestation of the protected areas, 3) promote and support the participation in nursing the seedlings for the community, 4) promote and support the participation in ecotourism of the community, 5) promote and support the participation in reforestation.

4.3 About the wild fire prevention, the given recommendations included the following: 1) promote and support the participation in wild fire prevention, 2) promote the provision of knowledge and understanding of wild fire prevention, 3) promote, develop, and produce wild fire prevention handbook, and 4) promote and support the participation in the follow on and control of wild fire prevention.

4.4 Concerning the protected area zoning and utilization, the following advice had been given: 1) promote and support the participation in sustainably allocating, zoning and utilizing the protected area, 2) promote and support the participation in conserving the protected area, 3) promote and support the participation in establishing the village fund for the allocation, zoning and utilization of the protected area, 4) promote and support the participation in managing and allocating the natural resources of the protected area, and 5) promote and support the participation in the dissemination and public relations.

4.5 As for the marking the boundary of the protected areas and the establishment of boundary signs of the protected area, these proposals were obtained: 1) promote and support the participation in marking the protected areas and establishing the boundary signs of the protected areas, 2) promote and support the follow on and  the examination of marking the protected areas and establishing the boundary signs of the protected areas, 3) promote and support the provision of knowledge and comprehension of marking the boundary of the protected areas and establishing the boundary signs of the protected areas.

คำสำคัญ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อ
Keywords
Policy proposal, participation in conserving the Hinnamnor National Protected Area
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 124.32 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 222.57 KB
3 ประกาศคุณูปการ 43.92 KB
4 บทคัดย่อ 119.84 KB
5 สารบัญ 165.81 KB
6 บทที่ 1 314.80 KB
7 บทที่ 2 1,750.90 KB
8 บทที่ 3 280.50 KB
9 บทที่ 4 954.69 KB
10 บทที่ 5 285.48 KB
11 บรรณานุกรม 293.81 KB
12 ภาคผนวก ก 352.54 KB
13 ภาคผนวก ข 654.98 KB
14 ภาคผนวก ค 78.78 KB
15 ภาคผนวก ง 286.63 KB
16 ภาคผนวก จ 1,996.94 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 64.22 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 มีนาคม 2563 - 11:59:42
View 483 ครั้ง


^