สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาด้านการดำเนิน งานเลขานุการ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 54 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ซึ่งเป็นผู้วิจัยและทีมงานเลขานุการในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต จำนวน 11 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจาก 10 แผนก และหัวหน้าหน่วยงาน จำนวน 43 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือปฏิบัติงานเลขานุการ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสังเกตแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการนิเทศภายใน แบบประเมินผล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกการประชุม แนวทางในการพัฒนา ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาด้านการดำเนินงานเลขานุการ วิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า
1.1 สภาพในการดำเนินงานเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง
1.2 ปัญหาในการดำเนินงานเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มผู้ร่วมวิจัยดำเนินการตามแนวทางการพัฒนา 3 แนวทาง คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า
3.1 ผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีส่วนช่วยให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานเลขานุการเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 42
3.2 ผลการศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างบุคลิกภาพ เทคนิคการสื่อสาร และแนวทางในดำเนินงานวิชาการของเลขานุการ รวมถึงการปฏิบัติงานในหน้าที่เลขานุการด้านต่าง ๆ พบว่า กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพมีความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานในหน้าที่เลขานุการเพิ่มขึ้นมีความรู้ เทคนิค วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเลขานุการ มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลการนิเทศภายใน พบว่า หลังการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพทั้ง 10 คน มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับงานเลขานุการ มากยิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรตำแหน่งเลขานุการ ในวิทยาลัยครูสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มผู้รับการพัฒนาศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานเลขานุการเป็นอย่างมาก
The objectives of this research were 1) to investigate conditions and problems on secretarialoperationsat SavannakhetTeacher Training College in the Lao People’s Democratic Republic, 2) to establish the guidelines for developing secretarial personnel, and 3) to follow up the potential development of secretarial personnel. The target group involved 54 participants including the researcher and ten co-researchers working in secretarial positions atSavannakhetTeacher Training College.The 43 informants included10 Heads of Departments and 43 Unit Heads. This action research employed the two spirals of four phases of planning, action, observation, and reflection. The instruments used in this researchwere a handbook for secretaries, a questionnaire, a test, an observation form, an interview form, an internal supervision form, an evaluation form, a satisfaction assessment form and meeting records. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and the percentage pointprogress.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems on the potential development of secretarial personnel at SavannakhetTeacher Training College in the Lao People’s Democratic Republic revealed that:
1.1 In terms of conditions, secretarial operations as a whole were at a moderate level.
1.2 The problems on secretarial operations as a whole wereat a high level.
2. The proposed guidelines for potential development of secretarial personnel involved three means: 1) a training workshop, 2) a study tour, and 3) an internal supervision.
3. The effects afterthe intervention found that:
3.1 After the training workshop, theco-researchers gained better knowledge and understanding on secretarial work of 42 percent.
3.2 After the study tour concerningpersonality enhancement, communication techniques, the guidelines for secretarial operations, and secretarialtask performances, the ten co-researchers obtained betterunderstanding on self and professionalperformances and knowledge on techniques and approaches to effective secretarial work at the highest level.
3.3 The results based on the internal supervision revealed that: The ten co-researchersgained better knowledge, understanding and skills on secretarial work andwere able to perform taskseffectively. This can be concluded that theaction research for potential development of secretarial personnel at Savannakhet Teacher Training College in the Lao People’s Democratic Republic, helped co-researchers improve individual potential secretarial work effectively. As a result, all parties concerned satisfied with the performance of the secretarial personnel.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 120.26 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 351.55 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 84.79 KB |
4 | บทคัดย่อ | 127.09 KB |
5 | สารบัญ | 196.96 KB |
6 | บทที่ 1 | 333.04 KB |
7 | บทที่ 2 | 910.44 KB |
8 | บทที่ 3 | 251.23 KB |
9 | บทที่ 4 | 839.24 KB |
10 | บทที่ 5 | 365.87 KB |
11 | บรรณานุกรม | 318.33 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 100.86 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,447.84 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 642.27 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 255.16 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 83.93 KB |