สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำหรับครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และระยะที่ 2 การตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไพศาลวิทยา อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ มีค่าความยากรายข้อ ตั้งแต่ 0.43 - 0.83 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.30-0.74 ค่าความเชื่อมั่น 0.85 2) แบบทดสอบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา มีค่าความยากรายข้อ ตั้งแต่ 0.35 - 0.74 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.32-0.72 ค่าความเชื่อมั่น 0.82 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.80 สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กระบวนการ ประกอบด้วย เนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนรู้ และ 2) ผลผลิต ประกอบด้วย นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
2. ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา อยู่ในระดับมาก และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก
This study aimed to develop and assess the efficiency of the developed primary 6 mathematics learning management model for teachers in schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1. There were 2 phases in this study. The first phase was the development of mathematics learning management model while the second phase was the efficiency assessment of the developed mathematics learning management model. The sample group consisted of 30 primary 6 students from Phaisanwittaya School, Kusuman District, Sakon Nakhon, under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1 in the academic year B.E. 2560. The sample was selected through purposive sampling. The tools employed in this study were 1) mathematics knowledge test, with difficulty value of each item was from 0.43 to 0.83, discrimination value of each item was from 0.30 to 0.74 and realibility value was at 0.85; 2) a test on mathematical skills and processes in problem solving, with difficulty value of each item was from 0.35 to 0.74, discrimination value of each item was from 0.32 to 0.72 and realibility value was at 0.82; 3) satisfaction form towards mathematics learning, which was a 5-level rating scale questionnaire with reliability value at 0.80. Statistics used in data collection consisted of percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
The findings were as follows.
1. The developed mathematics learning management model comprised 2 components, which were 1) the process; this consisted of the contents used in learning management and methods in learning management and 2) outcomes; this consisted of the knowledge and understanding of students in mathematics learning, skills.
2. The results from efficiency assessment of the developed mathematics learning management model found that 1) mathematics knowledge and understanding of students after the implementation of developed model was higher than that before the implementation at a statistical significance of .05 level; 2) from the study of mathematical skill and process, it is found that the mathematical skill and process of students was at a high level and 3) from the study of student satisfaction towards mathematics learning management by the implementation of developed primary 6 mathematics learning management model, student satisfaction in this regard was at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 94.04 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 421.93 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 31.21 KB |
4 | บทคัดย่อ | 87.26 KB |
5 | สารบัญ | 75.73 KB |
6 | บทที่ 1 | 177.65 KB |
7 | บทที่ 2 | 692.98 KB |
8 | บทที่ 3 | 205.14 KB |
9 | บทที่ 4 | 159.58 KB |
10 | บทที่ 5 | 171.02 KB |
11 | บรรณานุกรม | 176.73 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 3,990.79 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 471.11 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 233.37 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 8,061.87 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 57.71 KB |