ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Development of the Child Caretakers on the Academic Affairs Management and Learning Activity Application Based on the Curriculum at the Child Development Center under Phang Khwang Sub-didtrict, Mueang District, Sakon Nakhon
ผู้จัดทำ
วิจิตรตา พันธุออน รหัส 543B46143 ระดับ ป.โท ภาคปกติ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพใหล, ดร.วีรเทพ เนียมหัตถี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพังขว้าง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) เพื่อติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 13 คน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ ขั้นการสะท้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1.1 สภาพการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีสภาพการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ตามความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบเดิมที่เคยจัดมา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร ยังจัดได้ไม่หลากหลายและจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบไม่ค่อยมีจุดมุ่งหมายและไม่มีรูปแบบที่ได้มาตรฐานตามหลักสูตร และเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ไม่ครอบคลุมกับจุดประสงค์การเรียนรู้และยังไม่มีการบันทึกหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การใช้สื่อและนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังอยู่ในระดับน้อยและการประเมินพัฒนาการเด็กยังไม่เป็นปัจจุบัน การบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ทั้ง 10 ด้าน ยังจัดได้ไม่ครอบคลุม

1.2 ปัญหาในการบริหารงานวิชาการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผลการวิจัยพบว่า มีปัญหาในการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ทั้ง 10 ด้าน ยังครูผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ทั้ง 10 ด้าน และยังจัดได้ไม่ครอบคลุม ครูผู้ดูแลเด็กขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร ทำให้การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาไม่ได้มาตรฐาน การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน การวัดผลและประเมินผลไม่หลากหลายและไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ไม่มีทักษะในการผลิตสื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ไม่ได้มาตรฐาน

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการบริหารงานวิชาการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมี 2 แนวทาง คือ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศติดตาม และ 3) นิเทศแบบให้คำชี้แนะ 

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการบริหารงานวิชาการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการบริหารงานวิชาการและจัดกิจกรรมตามหลักสูตรในระดับมากและได้รับการช่วยเหลือ แนะนำ การให้คำปรึกษาในการจัดการศึกษาปฐมวัย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การผลิตสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งผลให้ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการจัดการศึกษาปฐมวัยเพิ่มขึ้น

Abstract

This study aimed at 1) investigating states and problems of the child caretakers on the academic affairs management and learning activity application based on the curriculum at the Child Development Centers under Phang Khwang Sub-district Administration Organization, Mueang District, Sakon Nakhon, 2) finding out guidelines on the child caretakers’ potential development on the academic affairs management and the application of learning activity, 3) monitoring effects of the child caretakers’ competence development in managing the academic affairs and applying the learning activities. The research group included 13 child caretakers. The 2-spiral action research was employed. Each spiral comprised: planning, action, observation and reflection. Tools used were composed of a form of observation, a form of interview, a questionnaire and a form of evaluation. Percentage, mean and standard deviation were utilized to analyze data.

The findings were as follows:

1. The states and problems on the educational management at the Child Development Centers were:

1.1 The states of the management of the academic affairs and learning activity application according to the curriculum at the Child Development Centers revealed that the child caretakers obtained the states of the academic affairs management and application of learning activity based on the curriculum, knowledge, understanding in the existing model. The application of learning activity based on the curriculum was conducted but it was not diverse. The application of the learning activity was done without objectives and without a standardized model based on the curriculum. In addition, the writing of lesson plans did not cover the objectives set and without a report after learning activities. The use of media and innovations in learning activities was at the low level. The evaluation of the development was not up-to-date.

1.2 The problems in managing the academic affairs and applying learning activities based on the curriculum in the Child Development Centers indicated that the child caretakers encountered a lack of knowledge, correct understanding concerning the academic affairs management and learning activity application based on the curriculum making the application of curriculum under standard. The making of plan on experience was not clear according to the steps. The measurement and evaluation were not diverse and not consistent with child development. They lacked skills in producing learning media/innovations to be standardized.

2. The guidelines in developing the child caretakers’ competency on the academic affairs management and learning activity application based on the curriculum at the Child Development Centers comprised: 1) a workshop, 2) monitoring supervision and coaching supervision.

3. The effects of the child caretakers’ potentiality development on the academic affairs management and learning activity application based on the curriculum indicated that the child caretakers gained knowledge, understanding and skills at the high level. They were provided with advice, counseling on the application of the preschool education, learning management, production of learning media and innovations, environment management both inside and outside the Child Development Centers conducive to learning affecting the child caretakers to gain better knowledge, understanding and skills in managing the preschool education.

คำสำคัญ
-
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 127.04 KB
2 ประกาศคุณูปการ 30.12 KB
3 บทคัดย่อ 79.22 KB
4 สารบัญ 113.06 KB
5 บทที่ 1 149.20 KB
6 บทที่ 2 972.73 KB
7 บทที่ 3 171.10 KB
8 บทที่ 4 669.12 KB
9 บทที่ 5 248.14 KB
10 บรรณานุกรม 95.86 KB
11 ภาคผนวก ก 352.98 KB
12 ภาคผนวก ข 834.95 KB
13 ภาคผนวก ค 95.14 KB
14 ภาคผนวก ง 47.17 KB
15 ภาคผนวก จ 4,248.95 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 44.63 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2562 - 10:01:41
View 535 ครั้ง


^