ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อประสมเรื่อง การคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of The Mathematics Learning Activities Based on Cooperative Learning Instructional Model, Team Assisted Individualization Techniques with Multimedia on Multiply for Prathom Suksa 3
ผู้จัดทำ
สิรภพ พลสุวรรณ รหัส 55421228121 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ประยูร บุญใช้
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรูแบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อประสม เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนการสอนกับเกณฑ์ค่าดัชนี (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใชในการวิจัยครั้งนี้  คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2557 โรงเรียนบานท่าหนามแก้วสวนกล้วย ตำบลหนองเทา อําเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จํานวน 21 คน ไดมาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย กลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรูแบบกลุมรวมมือ เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อประสม เรื่องการคูณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t- test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

 

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. กิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.88/79.68 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

2. ประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนการสอน เท่ากับ 60.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. เจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The purposes of this research were: (1) to develop and find out the efficacy of the mathematics learning activities based on cooperative learning Instructional Model Team Assisted Individualization Techniques with Multimedia on Multiply for Prathom Suksa 3 (2) to compare the effectiveness of learning Instructional with effectiveness index. (3) to compare the student’s achievement obtained before and after they had learnt through the constructed learning activities, (4) to compare the student’s attitudes obtained before and after they had learnt through the constructed learning activities toward mathematics. The subject of this research were 21 Prathom Suksa 3 students in the second semester of the academic year 2014, at Bantanamkaewsuankluay School, under the office of Nakhon Phanom Pimary Educational Service Area 2. These students are selected by cluster random sampling and one group pretest posttest design was used.

The instruments used in this research consisted of : (1) lession plan of Development of The Mathematics Learning Activities Based on Cooperative Learning Instructional Model Team Assisted Individualization Techniques with Multimedia on Multiply for Prathom Suksa 3, (2) the achievement test. (3) an attitudes test. The data were analyzed byusing percentage, mean, standard deviation, and t – test (Dependent samples).

 

Research finding were as follows :

1. The efficacy of learning Instructional created was 79.88/79.68, which was higher than criterion of 75/75.

2. The effectiveness of learning Instructional was 60.25, Which is based on defined criteria.

3. After the student had learnt though the constructed learning activities their achievement indicated that the posttest scores were higher than the pretest score at the .01 level of significance.

4. After the student had learnt though the constructed learning activities their attitude toward mathematics indicated that the posttest scores were higher than the pretest score at the .01 level of significance.

คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ, เทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือรายบุคคล, สื่อประสม
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 69.91 KB
2 ประกาศคุณูปการ 202.70 KB
3 บทคัดย่อ 96.93 KB
4 สารบัญ 287.60 KB
5 บทที่ 1 299.13 KB
6 บทที่ 2 850.06 KB
7 บทที่ 3 330.39 KB
8 บทที่ 4 258.91 KB
9 บทที่ 5 283.83 KB
10 บรรณานุกรม 179.62 KB
11 ภาคผนวก ก 499.53 KB
12 ภาคผนวก ข 1,368.39 KB
13 ภาคผนวก ค 523.04 KB
14 ภาคผนวก ง 268.46 KB
15 ภาคผนวก จ 223.13 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 210.51 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 มกราคม 2561 - 10:37:02
View 3429 ครั้ง


^