ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขาเพื่อส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of a Science Project Activity Package in Association with the Trisikkha-Based Teaching Method to Enhance Analytical Thinking, Creative Thinking and Learning Achievement of Third Grade Students
ผู้จัดทำ
ปราณี กุลมิน รหัส 55421231114 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขาเพื่อส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ร้อยละ 50 ขึ้นไป 2) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 5) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง ต่ำ) หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนหนองผือเทพนิมิต ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 นักเรียน 28 คน จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยการสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขา 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณร่วมทางเดียว (Oneway MANCOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One Way ANCOVA)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เท่ากับ 0.52, 0.50 และ 0.53 ตามลำดับซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

2. การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกันหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกับการสอนแบบไตรสิกขามีการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this study were1) to develop a science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method for enhancing analytical thinking, creative thinking and learning achievement to meet a minimum effectiveness index set at 50% or above, 2) to compare analytical thinking of students who learned through the use of the science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method between before and after learning, 3) to compare creative thinking of students who learned through the use of the science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method between before and after learning, 4) to compare learning achievement of students ho learned through the use of the science project package in association with the Trisikkha-based teaching method, and 5) to compare analytical thinking, creative thinking and learning achievement of the students with a difference in learning achievements (high, medium, low) after learning through the use of the science project package in association with the Trisikkha-based teaching method. A sample used in this study was 28 third grade students of one classroom selected by cluster random sampling, who were enrolled in the second semester of academic year 2015 at NongphueThepnimit School, Nakaeo sub-district, PhonNakaeo district, Sakon Nakhon province under the Office of SakonNakhon Primary Education Service Area 1. The instruments used in study comprised: 1) a science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method, 2) a test of analytical thinking, 3) a test of creative thinking, 4) a test of learning achievement. Statistics used were mean, standard deviation, t-test for dependent samples, one-way ANOVA, one-way MANCOVA and one-way ANCOVA.

The findings can be concluded as follows

1.     The science project activity package in association with The Trisikkha-based teaching method for third grade students had effectiveness indexes of analytical thinking, creative thinking and learning achievement be equal to 0.52, 0.50 and 0.53 respectively, which passed the set criterion.

2.    Students who learned through the use of the science project ctivitypackage in association with the Trisikkha-based teaching method had significantly higher analytical thinking after learning than that before learning at the .05 level.

3.    Students who learned through the use of the science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method had significantly higher creative thinking after learning than that before learning at the .05 level.

4.    Students who learned through the use of the science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method had significantly higher learning achievement after learning than that before learning at the .05 level.

5.    Students with a difference in learning achievements who learned through the use of the science project activity package in association with the Trisikkha-based teaching method had a significant difference in analytical thinking, creative thinking and learning achievement at the .05 level.

คำสำคัญ
ชุดกิจกรรม, โครงงานวิทยาศาสตร์, การสอนแบบไตรสิกขา, การคิดวิเคราะห์, การคิดสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 148.41 KB
2 ประกาศคุณูปการ 68.05 KB
3 บทคัดย่อ 74.01 KB
4 สารบัญ 205.90 KB
5 บทที่ 1 273.71 KB
6 บทที่ 2 845.74 KB
7 บทที่ 3 341.65 KB
8 บทที่ 3 224.53 KB
9 บทที่ 5 113.54 KB
10 บรรณานุกรม 214.70 KB
11 ภาคผนวก ก 145.52 KB
12 ภาคผนวก ข 120.71 KB
13 ภาคผนวก ค 211.02 KB
14 ภาคผนวก ง 361.96 KB
15 ภาคผนวก จ 1,215.36 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 48.92 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 ธันวาคม 2560 - 11:20:43
View 1395 ครั้ง


^