สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลสนามแบบชาติพันธุ์วรรณนาอย่างยืดหยุ่น การวิจัยเพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านภู 2) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนของหมู่บ้านภู 3) รูปแบบอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทกับการบริหารการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) บ้านภู แห่งจังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ที่ราบสูงเนินเขา“หินเหล็กไฟ” ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท มีพื้นที่ทางวัฒนธรรมถูกสร้างให้มีความหมายหลากหลายและลื่นไหลตลอดเวลา ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทำหน้าที่ ในแหล่งอาศัย ทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อดำรงความสมดุลของระบบ เรื่อง ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ทัศนคติ กระบวนทัศน์สะท้อนออกมาในแง่มุม ทั้งแบบแผนการผลิต การใช้ชีวิต การบริโภค การจัดการตนเอง ในบริบทการ บูรณาการทางเศรษฐกิจ สังคม ธรรมชาติแวดล้อมและความสัมพันธ์ของมนุษย์กับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติในพื้นที่ สถานที่ ระบบนิเวศ การจัดการทางสังคม และจิตวิญญาณท้องถิ่น แต่ชาวบ้านภูคงมีสำนึกในความเป็นชาติพันธุ์ผู้ไทอย่างชัดเจน อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไท เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการต่อรองเพื่อสร้างคุณค่าเป็นเครื่องมืออุปถัมภ์ค้ำชูการอนุรักษ์วัฒนธรรมในการสร้างความหมายและสัญลักษณ์ นัยยะวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว เป็นวิถีชุมชนในการดำรงอยู่ ต่อสู้ต่อรอง ช่วงชิงและยอมรับ รวมทั้งวิถีความเป็นอยู่ทั้งแหล่งรายได้และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม อาทิ วิถีชีวิตชุมชน ภาษาผู้ไท เครื่องแต่งกายชุดผู้ไทสีน้ำเงินขลิบแดง อาหาร เรื่องราวประวัติศาสตร์ ฐานเรียนรู้ชุมชน ลานวัฒนธรรมผู้ไท ตลอดจนการฟ้อนผู้ไท และการผลิตสินค้าและบริการของชุมชน 2) จัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากการจัดการตนเองผ่าน “การทำวัฒนธรรมให้สินค้า” หรือ “วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว” ได้แก่ (1) กระบวนการทำวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เพื่อเป็นจุดขาย ได้แก่ การแสดงวิถีชุมชนในขบวนต้อนรับนักท่องเที่ยว การจัดการนักท่องเที่ยว การบรรยายเรื่องราวประวัติศาสตร์ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนและนำชมพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ นอกจากนี้ยังได้นำนักท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตของชาวบ้านภูที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 6 ฐานเรียนรู้ รวมทั้งกลุ่มแสดงทางวัฒนธรรม กลุ่มขันโตก กลุ่มโฮมสเตย์ และกลุ่มทอผ้า เป็นต้น และกระบวนการอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ มีวิธีการ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรื้อสร้าง การสร้าง และ การผลิตซ้ำ 3) รูปแบบอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทกับการบริหารการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน (1) รูปแบบการบริหารการพัฒนาในบริบทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนเริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการกำหนดนโยบายของรัฐบาลผ่านกระทรวง ทบวง กรม อาทิเช่น โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการพัฒนาหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว นำสู่การปฏิบัติโดยผ่านองค์กรชุมชน ได้แก่ รูปแบบองค์กรธรรมชาติยึดหลักเคารพผู้อาวุโส รูปแบบองค์กรการเมืองท้องถิ่น รูปแบบองค์กรการพัฒนาการท่องเที่ยว รูปแบบองค์กรข้ามพรมแดนรักชาติ (2) การจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กิจกรรม เป้าหมาย การบริหารจัดการ เงื่อนไข แผนงาน (3) รูปแบบ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทกับการบริหาร การพัฒนาในบริบทการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ได้แก่ การจัดตั้งองค์กร การจัดทำยุทธศาสตร์ สำนึกทางชาติพันธุ์ การนิยามความเป็นผู้ไท การสร้างและคัดเลือกสัญลักษณ์หมู่บ้านภู การนำเสนอ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทในบริบทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และสุดท้าย การนำเสนอภายใต้การปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว
ข้อเสนอแนะจากข้อค้นการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบข้างต้นเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านในชุมชน 2) การบริหารการพัฒนาในอดีตเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เป็นผู้ปฏิบัติในระดับพื้นที่ แต่งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าการบริหารการพัฒนาถูกเปลี่ยนผ่านมา เป็นการจัดการตนเองโดยองค์กรชุมชนในพื้นที่ด้วย 3) ชุมชนพึ่งตนเอง โดยการจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น 4) การท่องเที่ยวเป็น “เครื่องมือ” อุปถัมภ์ค้ำชูการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวผู้ไท 5) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนด้วยระบบอาวุโสของชุมชน 6) การจัดการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงทุกกระบวนการของชุมชน
This study employed a qualitative research mythology by flexibly collecting data from documents and ethnographic field data. The objectives were to investigate: 1) the general state and identity of Phuthai ethnic in Ban Phuvillage, 2) the management of cultural tourism by the community of Ban Phu village, 3) the models of Phuthat ethnic identity and development administration for leading to be a sustainable cultural tourismvillage. The collected data was analyzed according to the objectives indicated and the findings of the study were presented in the form of descriptive analysis.
Findings of the study were as follows: 1) Ban Phu of Mukdahan province is located on the highland hill named ‘HinLek Fai’. Most people in this village constituted a Phuthai ethnic group. This cultural area has been built to have a variety of meanings and a flow all the time. The relationship of elements functioned in the habitat by acting together to maintain the balance of system concerned feeling, belief, attitude and paradigm. It reflected in perspective on production plans, lifestyles, consumption, and self-management in the context of the integration of economy, society, natural environment, and the relationship between human and supernatural phenomena in the area, location, ecology system, social management, and local spirit. Ban Phu village people still recognize the Phuthai ethnicity clearly. The Phuthai ethnic identity demonstrates relations of power in bargaining for creating a value. It is a tool of patronizing cultural preservation by creating meaningfulness and a symbol of cultural implication for tourism through the community’s way of existence such as fighting, bargaining, snatching and accepting. The identity includes way of life on both sources of income and cultural pride, for example, the Phuthai language, Phuthai ethnic costume in blue-red, food, history, community learning bases, Phuthai cultural courtyard, Phuthai dance, production and community services. 2) Cultural tourism has been carried out from self-management through ‘changing culture into a product’ or ‘culture for tourism’ as follows: (1) the process of culture for tourism has been run by presenting the ethnic identity to be a selling point, such as community lifestyle performances in the tourist welcoming procession, tourist management, historical lecture in community learning center and visiting the Museum of Royal Celebration. It also brought tourists to see the way of life of the Ban Phu villagers who adopted the philosophy of sufficiency economy into practice on six learning bases and to see a group of cultural shows, a group of ‘Khantoke’ food trays, a group of homestay, a group of cotton weaving, etc. The display included the ethnic identity process which concerned the demolition for building, building, and reproduction. 3) The models of Phuthai ethic identity and development administration in the sustainable cultural tourism context were as follows: (1) The models of development administration in the sustainable cultural tourism context began from the National Economic and Social Development Plan and the Government’s policy making through ministries, bureaus and departments, such as project on one-tambon, one-product (OTOP), project on developing OTOP villages for tourism which have been in practice by community organizations. The models included that of natural organization based on principle of respecting the seniority, that of local political organization, that of tourism development organization; (2) making a strategic proposal for spatial development administration included: vision, mission, strategies, activities, targets, management conditions and plans; (3) the models of Phuthai ethnic identity and development administration in the sustainable tourism context include organizational establishment, strategy making, ethnic consciousness, definition of uniqueness of being a Phuthai, creating and selecting a symbol of the Ban Phu village, presenting the Phuthai ethnic identity in the context of cultural tourism, and presentation under interaction with tourists.
Suggestions and implications from the findings revealed as follows: 1) The above models are tools for creating the relationship between villagers in community; 2) in the past, government officials were performers at area level in development administration, but the present study indicates that development administration has been changed into self-management by community organizations in the specific area; 3) the community relies on themselves by self-management of community and locality; 4) tourism is a tool for supporting Phuthai cultural preservation; 5) the sustainable cultural tourism management has been processed by community’s seniority system; and 6) participatory tourism management appears real in every process of the community.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 127.14 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 71.94 KB |
3 | บทคัดย่อ | 106.16 KB |
4 | สารบัญ | 138.67 KB |
5 | บทที่ 1 | 468.38 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,411.27 KB |
7 | บทที่ 3 | 2,597.05 KB |
8 | บทที่ 4 | 952.27 KB |
9 | บทที่ 5 | 334.35 KB |
10 | บรรณานุกรม | 404.70 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 105.32 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 136.22 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 102.80 KB |
14 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 78.27 KB |