สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลหนองลาด อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาความแตกต่างของความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลหนองลาด จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลหนองลาด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตตำบลหนองลาด อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 380 คน ซึ่งได้มาโดยการใช้สูตรของ Yamane ส่วนการเลือกวิธีในการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า โดยมีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามอยู่ระหว่าง .86 ถึง .96 มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมของแบบสอบถามเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Variance) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 53.68 มีอายุระหว่าง 40-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 63.42 ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 56.58 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 44.47 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 52.89 และอยู่อาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 51.32
2. ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลหนองลาด อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคมนาคม ด้านไฟฟ้าและแสงสว่าง และด้านแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อยู่ในระดับมาก ด้านการประปา อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านสวัสดิการสังคม อยู่ในระดับน้อย
3. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลหนองลาด จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านรายได้ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลตำบลหนองลาด ได้แก่ ขยายเขตการให้บริการน้ำประปาให้เพียงพอ การควบคุมดูแลการให้บริการน้ำประปาโดยเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีลานกีฬาประจำหมู่บ้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเปิดสอนในระดับที่สูงขึ้น และสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอและจัดหาเครื่องมือในการควบคุมโรคติดต่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
The purposes of this study were: 1) to investigate a degree of public opinion on the Nong Laad Sub-district Municipality’s infrastructure development, Mueang district, Sakon Nakhon province, 2) to examine a difference of public opinion on the Nong Laad Sub-district Municipality’s infrastructure development as classified by personal background, and 3) to examine a way in developing the Nong Laad Sub-district Municipality’s infrastructure. A sample used in study was 380 people in the Nong Laad sub-district area, Mueang district, Sakon Nakhon province, whose size was determined using Yamane’s formula for calculation. The sample was selected using proportional stratified random sampling. The instrument used was a checklist and rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between .86 and .96 and entire reliability was equal to .92. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA with a statistical significance determined at the .05 level.
The findings revealed as follows.
1. Most of respondents or 53.68% were males; 63.42% had their age in the 40-59 age range; 56.58% graduated with an associate degree or equivalent; 44.47% had their occupation as a farmer; 52.89% had their income not more than 5,000 baht per month; and 51.32% lived in the second election district.
2. The public opinion on the Nong Laad Sub-district Municipality’s infrastructure development, Mueang district, Sakon Nakhon province as a whole was at moderate level. Considering it by aspect, those aspects of communications, electricity and light, and water source for agriculture were at high level; while the aspect of water supply was at moderate level and the aspect of social welfare at low level.
3. A comparison of the overall public opinion on the development of infrastructure of Nong Laad Sub-district Municipality as classified by personal backgrounds of sex, age, educational attainment, occupation and residential area was found not different. As for the background of income, it was found significantly different at the .05 level.
4. The infrastructure development guidelines of Nong Laad Sub-district Municipality were: expansion of the water supply service area to meet the public need, controlling the water supply by providing staff with their expertise, having sport grounds in the village, offering education at the higher levels to early children in the Child Development Center with adequate budgetary support, and providing a tool to control communicable diseases to meet the needs of the people.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 131.38 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 109.96 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 65.18 KB |
4 | บทคัดย่อ | 227.15 KB |
5 | สารบัญ | 124.43 KB |
6 | บทที่ 1 | 212.60 KB |
7 | บทที่ 2 | 480.42 KB |
8 | บทที่ 3 | 247.44 KB |
9 | บทที่ 4 | 531.85 KB |
10 | บทที่ 5 | 233.79 KB |
11 | บรรณานุกรม | 212.70 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 3,052.26 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 149.38 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 108.35 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 115.46 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 186.92 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 112.37 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 614.39 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 157.18 KB |