ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนม
Perception of Computer Crimes Act of Nakhon Phanom Technical College Students
ผู้จัดทำ
ทศพร ทิพย์นม รหัส 57325117101 ระดับ ป.โท ภาคปกติ
หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชา วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.สมบูรณ์ ชาวชายโขง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการรับรู้กฎหมายว่าด้วย     การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนม และ 3) หาแนวทางในการส่งเสริมการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนม ประชากรคือนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนม สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จำนวน 305 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมการรับรู้กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม โดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และใช้สถิติทดสอบ ไคสแควร์ (Chi-square) และวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อยโดยความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2560 พบว่า 1) เพศต่างกันมีผลการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 3 ข้อ และ 0.05 จำนวน 1 ข้อ โดยเพศชายมีโอกาสที่จะรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มากกว่าเพศหญิง 2) ระดับการศึกษาต่างกันมีผล  การรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 2 ข้อ และ 0.05 จำนวน 2 ข้อ โดยนักศึกษากำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.1 มีโอกาสที่จะรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มากกว่าระดับชั้นอื่น 3) ประเภทวิชาต่างกันมีผลการรับรู้กฎหมายว่าด้วย   การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 2 ข้อ และ 0.05 จำนวน 5 ข้อ โดยนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ มีโอกาสที่จะรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มากกว่าประเภทวิชาอื่น 4) ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ต่างกันมีผลการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 3 ข้อ และ 0.05 จำนวน 3 ข้อ โดยนักศึกษาที่มีประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ระหว่าง 6-10 ปี มีโอกาสที่จะรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มากกว่าประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงอื่น 5) ประสบการณ์ในการใช้มือถือต่างกันมีผลการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 1 ข้อ และ 0.05 จำนวน 2 ข้อ โดยนักศึกษาที่มีประสบการณ์การใช้โทรศัพท์มือถือระหว่าง 1-5 ปี มีโอกาสที่จะรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มากกว่าประสบการณ์การใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงอื่น

2. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนมคือ 1) เพศต่างกันมีพฤติกรรมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 6 ข้อ และ 0.05 จำนวน 3 ข้อ 2) ระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 6 ข้อ และ 0.05 จำนวน 4 ข้อ 3) ประเภทวิชาต่างกันมีพฤติกรรมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 11 ข้อ และ 0.05 จำนวน 2 ข้อ 4) ประสบการณ์ใช้คอมพิวเตอร์ต่างกันมีพฤติกรรมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำนวน 4 ข้อ และ 0.05 จำนวน 5 ข้อ 5) ประสบการณ์ใช้มือถือต่างกันมีพฤติกรรมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับระดับ 0.01 จำนวน 5 ข้อ และ 0.05 จำนวน 5 ข้อ

3. แนวทางส่งเสริมการรับรู้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครพนมมี 2 ด้าน คือ 1. ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2560 ได้แก่ 1) ควรให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
2) ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3) ควรพัฒนาสื่อวิดีโอเพื่อให้ความรู้กับนักศึกษาและ 2. ด้านพฤติกรรมการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 1) ควรสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มาถูกต้องและ 3) สร้างบทบาทสมมุติให้นักศึกษาทำการแสดงในชั้นเรียน

Abstract

The purposes of the research were 1) to investigate the factors in the perception of Computer Crimes Act of Nakhon Phanom Technical College Students, 2) to study the factors which contributed to the perception of Computer Crimes Act of Nakhon Phanom Technical College Students, 3) to gain guidelines on promoting the perception of Computer Crimes Act of Nakhon Phanom Technical College Students. The population included Nakhon Phanom Technical College Students.  After these students had been selected through stratified random sampling, 305 samples were obtained. The questionnaire was employed to collect the information regarding factors in the perception of Computer Crimes Act and the contributing factors in behavioral perception of Computer Crimes Act. Small group meetings were held among 7 experts to discuss and find guidelines on promoting the perception of Computer Crimes Act including the information and communication laws. The quantitative data was analyzed using the statistics of percentage, mean, frequency, Chi-square while the information gained from the meetings were analyzed via content analysis.

The study unveiled these results:

1. The investigation found these factors in the perception of Computer Crimes Act 2017: 1) different genders significantly had 3 varied perceptions of the Computer Crimes Act at 0.01 statistical levels and 1 varied perception at 0.05 statistical level. Males tended to have higher perceptions of Computer Crimes Act than females; 2) students whose educational levels differed significantly had 2 varied perceptions of the Computer Crimes Act at 0.01 statistical levels and 2 varied perceptions at 0.05 statistical levels. Students who were studying in the first year for their High Vocational Certificate tended to have better opportunities to perceive the Computer Crimes Act than other students; 3) students whose majors differed significantly had 2 different perceptions of the Computer Crimes Act at 0.01 statistical levels and 5 different perceptions at 0.05 statistical levels. Students who were studying Commerce and Business Administration majors tended to have better opportunities to perceive the Computer Crimes Act than other students; 4) students whose experiences in using computers differed significantly had 3 varied perceptions of the Computer Crimes Act at 0.01 statistical levels and 5 varied perceptions at 0.05 statistical levels. Students who had 6-10 years experiences of using the computers had better opportunities to perceive the Computer Crimes Act than other students; 5) students whose experiences in using mobile phones differed significantly had one varied perception of the Computer Crimes Act at 0.01 statistical level and 2 varied perceptions at 0.05 levels. Students who had 1-5 years experiences of using mobile phones had better opportunities to perceive the Computer Crimes Act than other students.

2. Factors which led to computer related criminal behaviors included the following: 1) students whose genders differed significantly committed 6 different computer related criminal behaviors at .0.01 statistical levels, and 3 different computer related criminal behaviors at .0.05 statistical levels; 2) students whose educational levels differed significantly committed 6 different computer related criminal behaviors at .0.01 statistical levels, and 4 different computer related criminal behaviors at .0.05 statistical levels; 3) students whose majors differed significantly committed 11 different computer related criminal behaviors at .0.01 statistical levels, and 2 different computer related criminal behaviors at .0.05 statistical levels; 4) students whose  experiences in using the computers differed significantly committed 4 different computer related criminal behaviors at .0.01 statistical levels, and 5 different computer related criminal behaviors at .0.05 statistical levels; 5) students whose experiences in using the mobile phones differed significantly committed 5 different computer related criminal behaviors at .0.01 statistical levels, and 5 different computer related criminal behaviors at .0.05 statistical levels.

3. Guidelines on promoting the perception of Computer Crimes Act of Nakhon Phanom Technical College Students could be categorized into 2 aspects: 1) Students should be inculcated in knowledge and comprehension of the Computer Crimes Act 2017 which comprised 1.1) knowledge concerning the use of social network in their daily life , 1.2) the activities which will help promote the perception of the Computer Crimes Act should be launched, 1.3) videos to provide knowledge for students should be produced; 2) Computer related criminal behaviors, 2.1) create an awareness of computer related criminal behaviors, 2.2) provide knowledge and understanding of legitimate or acceptable computer behaviors, 2.3) have the students do role play in their classrooms.

คำสำคัญ
การรับรู้, กฎหมาย, การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
Keywords
Perception, law, computer crimes
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 134.13 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 311.96 KB
3 ประกาศคุณูปการ 51.21 KB
4 บทคัดย่อ 134.97 KB
5 สารบัญ 187.90 KB
6 บทที่ 1 224.88 KB
7 บทที่ 2 918.02 KB
8 บทที่ 3 267.04 KB
9 บทที่ 4 3,444.29 KB
10 บทที่ 5 402.91 KB
11 บรรณานุกรม 156.61 KB
12 ภาคผนวก ก 976.01 KB
13 ภาคผนวก ข 99.21 KB
14 ภาคผนวก ค 230.25 KB
15 ภาคผนวก ง 196.54 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 96.12 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 พฤษภาคม 2562 - 15:17:40
View 1436 ครั้ง


^