สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาความรู้ของประชาชนในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคมจังหวัดสกลนคร จำนวน 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.77 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 53.40 มีอายุ 40-49 ปี จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 31.50 มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 53.40 มีอาชีพเกษตรกร จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001 - 10,000 บาท จำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 40.30 มีถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นเทศบาลตำบล จำนวน 296 คน คิดเป็นร้อยละ 74.60 ตามลำดับ
2. ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยรวมเฉลี่ย 18.35 จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 91.75 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ด้านความหมายและประเภทของขยะ เฉลี่ย 6.83 จากคะแนนเต็ม 7 คิดเป็นร้อยละ 97.57 ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ด้านการคัดแยกขยะ เฉลี่ย 3.65 จากคะแนนเต็ม 4 คิดเป็นร้อยละ 91.25 ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ด้านประโยชน์และโทษของขยะ เฉลี่ย 4.26 จากคะแนนเต็ม 5 คิดเป็นร้อยละ 85.20 และประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ด้านการกำจัดขยะ เฉลี่ย 3.61 จากคะแนนเต็ม 4 คิดเป็นร้อยละ 90.25
3. ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ
4. ความรู้ของประชาชนในการจัดการขยะมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r = .572) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า ความรู้ของประชาชนด้าน ความหมายและประเภทของขยะ การคัดแยกขยะ ประโยชน์และโทษของขยะ และการกำจัดขยะ มีผลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
The purposes of this study were: (1) to investigate people’s knowledge of waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province, (2) to examine a degree of effectiveness in waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province, and (3) to inquire into the relationship between knowledge and effectiveness of waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province. A sample used in study was 397 people who resided in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province. The instrument used was a check-list and rating scale questionnaire whose discrimination power values ranged between 0.77 and 0.80, and entire reliability coefficient was 0.97. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s product moment correlation coefficient.
Findings of study were as follows.
1. From the general data of respondents, most of them were 212 females or 53.40%; 125 people or 31.50% were in the 40-49 age range; 212 people or 53.40% graduated at secondary education level; 198 people or 49.90% had their occupation as a farmer; 160 people or 40.30% had an income of between 5,001 and 10,000 baht; and 296 people or 74.60% resided in a sub-district municipality area respectively.
2. Out of the full score of 20, people in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province had a mean score of knowledge about waste management equal to 18.35 or as high as 91.75%. Considering it by aspect, people had a mean score of 6.83 out of 7 in knowledge of waste management in the aspect of meaning and types of waste or as high as 97.57%. The people had a mean score of 3.65 out of 4 in knowledge of waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province in the aspect of waste separation or as high as 91.25%. The people had a mean score of 4.26 out of 5 in knowledge of waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province in the aspect of advantages and disadvantages of waste or as high as 85.20%. And the people had a mean score of 3.61 out of 4 in knowledge of waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province in the aspect of waste disposal or as high as 90.25%.
3. The overall effectiveness of waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province was at high level. Considering it by aspect, all aspects were found at high level as arranged from higher to lower mean scores respectively: facilities in service, service officers, and process of service delivery.
4. Knowledge of waste management had a significant relationship with effectiveness in waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province with a correlation coefficient of .572 (r = .572) at the .01 level. It shows that people’s knowledge about the meaning and types of waste, waste separation, advantages and disadvantages of waste, and waste disposal had effectiveness in waste management of local government organizations in the Phanna Nikhom district area, Sakon Nakhon province.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 68.29 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 47.29 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 78.99 KB |
4 | บทคัดย่อ | 102.31 KB |
5 | สารบัญ | 245.67 KB |
6 | บทที่ 1 | 274.29 KB |
7 | บทที่ 2 | 610.40 KB |
8 | บทที่ 3 | 287.33 KB |
9 | บทที่ 4 | 223.68 KB |
10 | บทที่ 5 | 117.50 KB |
11 | บรรณานุกรม | 164.60 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 525.54 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 71.52 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 120.35 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 754.94 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 272.25 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 115.33 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 77.33 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 199.26 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 72.64 KB |