สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน 2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียนและประสิทธิผลโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียนที่ต่างกัน 3) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่เลือกมาศึกษาครั้งนี้มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลโรงเรียน 4) หาปัจจัยทางการบริหาร ที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลโรงเรียน และสมการพยากรณ์ และ 5) หาแนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.935 และเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.861 และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t - test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ประสิทธิผลโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน แต่จำแนกตามขนาดโรงเรียน ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน กับประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยทางการบริหารของโรงเรียน ด้านการพัฒนาทีมงาน (X8) ด้านการติดต่อสื่อสาร (X4) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ (X1) และด้านการจูงใจ (X5) สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียน ได้ร้อยละ 46.80 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ ± 0.20006
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
Y’ = 1.749 + 0.286 X8 + 0.114 X4 + 0.094 X1 + 0.076 X5
และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z’ = 0.435 ZX8 + 0.172 ZX4 + 0.130 ZX1 + 0.105 ZX5
7. แนวทางการพัฒนาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน เสนอแนะไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์การ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการจูงใจ และด้านการพัฒนาทีมงาน
The purposes of this research were: 1) to examine administrative factors affecting school effectiveness; 2) to compare administrative factors and school effectiveness as perceived by school administrators and teachers with different position and school size; 3) to investigate the relationship between selected administrative factors and school effectiveness; to study the predictive power of the administrative factors affecting the school effectiveness; and 4) to establish the guidelines for developing administrative factors affecting school effectiveness under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area. The samples consisted of a total of 334 participants working in schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area in the 2017 academic year. The instruments for data collection consisted of a set of questionnaires concerning school administrative factors with the reliability of 0.935 and school effectiveness with the reliability of 0.861, and interview forms asking questions that related to the guidelines for developing administrative factors affecting school effectiveness. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – Way ANOVA), Pearson’s Product – Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The school administrative factors as a whole and each aspect were at a high level.
2. The school effectiveness as a whole and each aspect were at a high level.
3. The school administrative factors as perceived by school administrators and teachers with different working position and school size, as a whole were different at a statistical significance of the .01 level.
4. The school effectiveness as perceived by school administrators and teachers with different working position as a whole and each aspect was not different, whereas there was different at a statistical significance of the .01 level in terms of school size in overall.
5. The administrative factors and school effectiveness as a whole had a positive relationship at the statistical significance of the .01 level.
6. The school administrative factors comprising Personnel development (X8), Communication (X4), Atmosphere and Organizational culture (X1) and Motivation (X5) were able to predict school effectiveness with the percentages of 46.80 and Standard Error of Estimate ± 0.20006.
The equation could be summarized in raw scores as follows:
Y’ = 1.749 + 0.286 X8 + 0.114 X4 + 0.094 X1 + 0.076 X5
And the predictive equation standardized scores was
Z’ = 0.435 ZX8 + 0.172 ZX4 + 0.130 ZX1 + 0.105 ZX5
7. The guidelines for developing the administrative factors affecting school effectiveness involved four aspects: Atmosphere and Organizational culture, Communication, Motivation and Personnel development.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 99.19 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 79.21 KB |
3 | บทคัดย่อ | 126.20 KB |
4 | สารบัญ | 360.48 KB |
5 | บทที่ 1 | 359.08 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,316.72 KB |
7 | บทที่ 3 | 681.94 KB |
8 | บทที่ 4 | 1,071.04 KB |
9 | บทที่ 5 | 477.75 KB |
10 | บรรณานุกรม | 258.35 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 132.61 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 417.07 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 476.19 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 327.93 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 159.88 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 618.20 KB |
17 | ภาคผนวก ช | 196.49 KB |
18 | ภาคผนวก ซ | 861.37 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 96.77 KB |