ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Transformational Leadership of Heads of Learning Department Affecting Work Effectiveness of Learning Departments in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23
ผู้จัดทำ
สิทธิชัย อุสาพรม รหัส 60421229136 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้กับประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน และ 5) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 414 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มีค่าความเชื่อมั่นของ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 0.95 และประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ชนิด One-Way ANOVA การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธีวิเคราะห์ Stepwise

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยรวม อยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความพึงพอใจของครู และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ จำแนกตามที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวม และรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้กับประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้านที่มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นรายบุคคล ด้านการสร้างบารมี และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ

5. การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียน ไว้ 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นรายบุคคล

Abstract

The purposes of this research were to (1) examine transformational leadership of heads of learning department and work effectiveness of learning departments in schools; 2) compare transformational leadership of heads of learning department and work effectiveness of learning departments; 3) discover the relationship between transformational leadership of heads of learning department and work effectiveness of learning departments; 4) explore the predictive power of transformational leadership of heads of learning department affecting work effectiveness of learning departments in schools; and 5) establish the guidelines for developing transformational leadership of heads of learning departments affecting work effectiveness of learning department in schools. The samples were school administrators, heads of learning department and teachers working under the Office of Secondary Educational Service Area 23, yielding a total of 414, in the 2018 academic year. The research instrument was a rating scale questionnaire with the confidence values of transformational leadership of heads of learning department at 0.95 and work effectiveness of learning departments in schools at 0.94. Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, F - test (One – Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. Transformational leadership of heads of learning department and work effectiveness of learning departments in schools as a whole were at a high level.

2. The transformational leadership of heads of learning department with different position as a whole was statistically significant different at the .05 level. In terms of different work experience and school sizes, the participants reported that the transformational leadership of heads of learning department as a whole and each aspect was statistically significant different at the .01 level, whereas the work effectiveness of learning departments in schools, classified by participants with different positions, as a whole was not different. When considered in each aspect, teacher satisfaction aspect and workplace participation aspect were statistically significantly different at the .05 level and the .01 level respectively. Referring to the opinions of participants with different work experience and school sizes as a whole and for each aspect showed a statistically significant difference at the level of .01.

3. The relationship between transformational leadership of heads of learning department and work effectiveness of learning departments showed a positive relationship at a statistically significant difference of .01 level.

4. The four found aspects of transformational leadership of heads of learning department affecting work effectiveness of learning departments which had the predictive power were Intellectual Stimulation, Individualized Consideration, Charisma, and Inspiration Motivation.

5. The proposed guidelines for transformational leadership of heads of learning department affecting work effectiveness of learning departments involved four aspects: Charisma, Inspiration Motivation, Intellectual Stimulation, and Individualized Consideration.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้, ประสิทธิผลการทำงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้
Keywords
Transformational Leadership, Heads of Learning Department, Work Effectiveness of Learning Department
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 112.91 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 624.34 KB
3 ประกาศคุณูปการ 84.22 KB
4 บทคัดย่อ 134.33 KB
5 สารบัญ 431.01 KB
6 บทที่ 1 437.17 KB
7 บทที่ 2 1,550.96 KB
8 บทที่ 3 477.35 KB
9 บทที่ 4 1,792.50 KB
10 บทที่ 5 530.45 KB
11 บรรณานุกรม 432.39 KB
12 ภาคผนวก ก 2,405.65 KB
13 ภาคผนวก ข 1,179.70 KB
14 ภาคผนวก ค 2,222.31 KB
15 ภาคผนวก ง 414.78 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 174.57 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 สิงหาคม 2562 - 11:27:13
View 1560 ครั้ง


^