ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causal Relationship Model of Selected Factors Affecting Effectiveness of Secondary Schools in the NortheasternRegion
ผู้จัดทำ
รัชพล จอมไตรคุป รหัส 60632250106 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2563
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) หาแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างโมเดลสมมติฐาน โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์เอกสารเป็นการศึกษาหลักการ ทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการจัดการศึกษาของโรงเรียน และขั้นที่ 2 การศึกษาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 640 แห่ง โดยผู้ให้ข้อมูลในโรงเรียนแต่ละแห่ง จำนวน 2 คน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูผู้สอน จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,280 คน ระยะที่ 3 การหาแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) และการวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้น โดยใช้สถิติ ไค-สแควร์ (Chi-square) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติขั้นสูง และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน

ผลการวิจัย พบว่า

1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย ตัวแปรสาเหตุได้แก่ ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้น วัฒนธรรมองค์การ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และองค์การแห่งนวัตกรรม

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สร้างขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไคว์-สแควร์ (χ2) มีค่าเท่ากับ 119.86 องศาอิสระเท่ากับ 86 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.00930 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ χ2/df เท่ากับ 1.39 นั่นคือ โมเดลมีความกลมกลืนดี แสดงว่ายอมรับสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.94 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.0044 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ 0.92 และเมื่อนำโมเดลไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ยืนยัน พบว่าผู้เชี่ยวทุกคนยืนยันโมเดลตามผลการวิเคราะห์

3. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทางตรง 3 ตัว คือ ภาวะผู้นำแบบเหนือชั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้ และองค์การแห่งนวัตกรรม นอกจากนี้มีการนำเสนอแนวทางพัฒนาปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ วัฒนธรรมองค์การไว้ด้วย

Abstract

The purposes of this research were: 1) to examine selected factors affecting the effectiveness of secondary schools in the northeastern region, 2) to verify a causal relationship model of selected factors affecting effectiveness of secondary schools in the northeastern region with the empirical data, and 3) to establish the guidelines for developing selected factors affecting the effectiveness of secondary schools in the northeastern region. The research was divided into three phases: Phase I-Construction of Hypothesis Model. This phase comprised two steps: Step I was related to document inquiries and analysis concerning principles, theories, concepts about factors affecting the effectiveness of school educational administration, and Step II concerned a study of selected factors affecting school effectiveness through nine experts. Phase II-Model Verification with Empirical Data. The sample in this phase consisted of 640 secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in the northeastern region of Thailand in the academic year 2018. Two key informants were drawn from each school, including a school administrator and a teacher, yielding a total of 1,280 persons. Phase III involved the establishment of guidelines for improving selected factors affecting effectiveness of secondary schools in the northeastern region of Thailand, using Structural Equation Model (SEM), and Linear Model Analysis of Chi-square statistics. The quantitative data was analyzed through the SPSS and LISREL programs. The interviews with nine experts were also conducted for data analysis.

The findings were as follows:

1. The causal relationship model of selected factors affecting effectiveness of secondary schools in the northeastern region consisted of Cause Variables: transcendental leadership, organizational culture, learning process management and innovative organization.

2. The developed causal relationship model was consistent with the empirical data: Chi-square value (χ2) of 119.86, degrees of freedom (df) of 86, p-value of 0.00930, the relative chi-square value χ2/df of 1.39. Consequently, It could be concluded that the model fit was good. Thus the null hypothesis of this model failed to be rejected. The developed causal relationship model was consistent with the empirical data and the results of statistical tests. The results were as follows: Goodness of Fit Index (GFI) of 0.99, Adjusted Goodness of Fit (AGFI) of 0.94, approaching 1, and Root Mean Square Residual (RMR) of 0.0044, approaching zero, and the prediction coefficient of determination (R2) of 0.92. Nine experts confirmed that the developed model was consistent with the research result analysis.

3. This research proposed the guidelines for developing selected factors influencing the effectiveness of secondary schools in the northeastern region. The three selected factors that had the direct influence on the effectiveness of secondary schools comprising superior leadership, learning process management, and innovative organization. In addition, the researcher proposed guidelines for developing the selected factor - organizational culture - that had both direct and indirect effects.

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา
Keywords
Causal Relationship Model, Secondary School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 79.46 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 1,978.08 KB
3 ประกาศคุณูปการ 80.39 KB
4 บทคัดย่อ 142.88 KB
5 สารบัญ 320.63 KB
6 บทที่ 1 316.03 KB
7 บทที่ 2 2,334.64 KB
8 บทที่ 3 440.12 KB
9 บทที่ 4 1,659.51 KB
10 บทที่ 5 292.96 KB
11 บรรณานุกรม 247.12 KB
12 ภาคผนวก ก 155.54 KB
13 ภาคผนวก ข 10,478.05 KB
14 ภาคผนวก ค 696.19 KB
15 ภาคผนวก ง 374.97 KB
16 ภาคผนวก จ 162.71 KB
17 ภาคผนวก ฉ 232.92 KB
18 ภาคผนวก ช 589.38 KB
19 ประวัติย่อของผู้วิจัย 100.26 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 เมษายน 2563 - 22:46:15
View 1898 ครั้ง


^