ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Development of a Scientific Learning Management Model Based on the Service Learning Concept in Conjunction with the Situation Learning Concept to Enhance Public Mind, Ability in Transfer of Learning and Learning Achievement for Prathom Suksa 5 Students
ผู้จัดทำ
จิตรลดา ทองอันตัง รหัส 533JCe215 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.อุษา ปราบหงษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการรับใช้สังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ จำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 39 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 38 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบวัดจิตสาธารณะ  แบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบ 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน การทดสอบทีแบบ 2 กลุ่มอิสระต่อกัน วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียวและการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ  2) จุดมุ่งหมาย  3) เนื้อหาและกิจกรรมการเรียน  4) กระบวนการเรียนรู้  5) บทบาทผู้เรียนและผู้สอน และ 6) การวัดผลและประเมินผล ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 7 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนัก ขั้นที่ 2 สำรวจและค้นหา ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 4 สรุปความรู้  ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้  ขั้นที่ 6 เรียนรู้สังคม และขั้นที่ 7 สะท้อนผลการเรียนรู้  

2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีดังนี้

2.1) จิตสาธารณะของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

2.2) จิตสาธารณะของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.4) ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

2.6) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ไม่แตกต่างกันกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบปกติ

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop a scientific learning management model based on the service learning concept in conjunction with the situation learning concept to enhance public mind, ability in transfer of learning and learning achievement for Prathom Suksa 5 students, and 2) to investigate results of implementing the learning management model. A sample was 78 Prathom Suksa 5 students at Kusuman Kindergarten School. They were divided into 2 groups: 39 students in the treatment group and 38 students in the control group. The instruments used in experiment were: 1) a form for measuring public mind, 2) a form for measuring ability in transfer of learning, and 3) a test of learning achievement. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, t-test for dependent samples, t-test for independent samples, one-way ANOVA and criterion-referenced one-sample t-test. 

Findings of the study can be concluded as follows:

1. The developed learning management model comprises the following components: 1) principles, 2) objectives, 3) content and learning activity, 4) learning process, 5) role of students and teachers, and 6) measurement and evaluation. The learning process comprised 7 steps: step 1 - create awareness, step 2 – survey and search, step 3 – take action, step 4 – conclude knowledge, step 5 – apply knowledge, step 6 – learn the society, and step 7 – reflect the learning result.

2. Results of using the developed learning management model were as follows:

2.1 Public mind of students in the treatment group that was taught with the developed learning management model after learning was significantly higher than that before learning at the .01 level.

2.2 Public mind of students in the treatment group that was taught with the developed learning management model was significantly higher than that of those in the control group that was taught by traditional one at the .01 level.

2.3 Ability in transfer of learning of students in the treatment group that was taught with the developed learning management model had a mean score after learning higher than the criterion set at 60% of the full score significantly at the .01 level.

2.4 Ability in transfer of learning of students in the treatment group that was taught with the developed learning management model was significantly higher than that of those in the control group that was taught with the traditional one at the .01 level.

2.5 Learning achievement of students in the treatment group that was taught with the developed learning management model after learning was significantly higher than that before learning at the .01 level.Learning achievement of students in the treatment group that was taught with the developed learning management model was not different from that of those in the control group that was taught with the traditional one.

คำสำคัญ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยการรับใช้สังคม, การเรียนรู้เชิงสถานการณ์, จิตสาธารณะ, การถ่ายโยงการเรียนรู้
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 50.31 KB
2 ประกาศคุณูปการ 29.97 KB
3 บทคัดย่อ 55.98 KB
4 สารบัญ 89.69 KB
5 บทที่ 1 126.39 KB
6 บทที่ 2 673.80 KB
7 บทที่ 3 195.59 KB
8 บทที่ 4 1,831.64 KB
9 บทที่ 5 169.44 KB
10 บรรณานุกรม 119.74 KB
11 ภาคผนวก ก 4,234.44 KB
12 ภาคผนวก ข 485.13 KB
13 ภาคผนวก ค 3,956.04 KB
14 ภาคผนวก ง 551.28 KB
15 ภาคผนวก จ 2,301.22 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 31.81 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
18 ธันวาคม 2560 - 10:51:53
View 4150 ครั้ง


^