ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย และพหุสัมผัส
Development of a Provision of Experience Model to Enhance Creative Thinking and Social Skills in Early Childhood Children Using the Reggio Emilia and Multi-Sensory Approaches
ผู้จัดทำ
อวยพร ออละมาลี รหัส 55632227105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ดร.พจมาน ชำนาญกิจ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย และพหุสัมผัส 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นระหว่างช่วงเวลาของการวัดความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นระหว่างช่วงเวลาของการวัดทักษะทางสังคมที่แตกต่างกัน เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมจำแนกตามช่วงเวลาของการวัดความคิดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน เปรียบเทียบทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมจำแนกตามช่วงเวลาของการวัดทักษะทางสังคมที่แตกต่างกัน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ 3) การทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มทดลอง และเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเชียงสือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 20 คน เป็นกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One–way Repeated ANOVA) และ Independent samples t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดประสบการณ์ที่พัฒนาขึ้น มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสำคัญและความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล  โดยมีขั้นตอน กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5P) คือ ขั้นเตรียมการ (Preparations) ขั้นกำหนดโครงการ (Project) ขั้นวางแผนการดำเนินการ (Planning) ขั้นปฏิบัติ (Practice) ขั้นสรุป (Peroration) 

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองก่อนจัดประสบการณ์ ระหว่างจัดประสบการณ์ หลังจัดประสบการณ์ และติดตามผลการจัดประสบการณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์แต่ละช่วงเวลาของการวัดมีค่าสูงขึ้นตามลำดับ 2) คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองก่อนจัดประสบการณ์ ระหว่างจัดประสบการณ์ หลังจัดประสบการณ์ และติดตามผลการจัดประสบการณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมแต่ละช่วงเวลาของการวัดมีค่าสูงขึ้นตามลำดับ 3) คะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนจัดประสบการณ์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ระหว่างจัดประสบการณ์ หลังการจัดประสบการณ์ และติดตามผลการจัดประสบการณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์สูงกว่ากลุ่มควบคุม 4) คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนจัดประสบการณ์ ไม่แตกต่างกัน ส่วนคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมระหว่างจัดประสบการณ์ หลังการจัดประสบการณ์ และติดตามผลการจัดประสบการณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุม

3. เด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย และพหุสัมผัส อยู่ในระดับมาก (X̅ = 2.52, S.D. = .46)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop a provision of experience model to enhance creative thinking and social skills in early childhood children using the Reggio Emilia and multi-sensory approaches, 2) to investigate the results of the provision-of-experience model by the following methods: comparison of creative thinking of early childhood children in the treatment  group after gaining experience during the different time of measuring creativity; comparison of social skills of early childhood children who were provided with experience according to the developed model by this author during the different time of measuring social skills; comparison of creative thinking of early childhood children of the two groups between treatment and control after experience during the different time of measuring creativity; comparison of the social skills of early childhood children of the treatment and control groups after experience during the different time of measuring the social skills; and 3) to investigate early childhood children’s satisfaction with the experience provision according to the developed provision-of-experience model. A sample of 20 second year kindergarten children who were enrolled in the second semester of academic year 2015 at Ban Non Kung School under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1 was assigned as a treatment group, while a sample of 20 second year kindergarten children who were enrolled at Ban Chiang Sue School under the same Office was assigned as a control group. Statistics used were mean, standard deviation, one-way repeated ANOVA and independent samples t-test.

Findings of the study disclosed as follows:

1. The developed experience provision model comprised 7 components: significance and background, basic concepts and theories, principles, objectives, contents, process of experience provision, and measurement and evaluation. The process of experience provision comprised 5Ps: preparations, project, planning, practice and peroration. 

2. The results of investigation of the experience provision model revealed the following: 1) the mean scores of creative thinking of early childhood children in the treatment group before being provided with experience, during the provision of experience, after the provision of experience and at the time of follow-up of the experience provision were significantly different at the .01 level and the mean scores of creative thinking in each time of the measurements were getting higher respectively; 2) the mean scores of social skills of early childhood children in the treatment group before being provided with experience, during the provision of experience, after the provision of experience and at the time of follow-up of the experience provision were found significantly different at the .01 level and the mean scores of social skills in each time of the measurements were getting higher respectively; 3) The mean scores of creative thinking of early childhood children of the treatment group and control group before being provided with experience were not found different, whereas the mean scores of creative thinking during the provision of experience, after the provision of experience and at the time of follow-up of the experience provision were found significantly different at the .01 level and the treatment group had a higher mean score of creative thinking than that gained by the control group; 4) the mean scores of social skills of early childhood children of the treatment group and control group before provision of experience were not found different; whereas the mean scores of social skills of early childhood children in comparison between the treatment group and the control group during the provision of experience, after the provision of experience and at the time of follow-up of the experience provision were found significantly different at the .01 level. The treatment group had mean scores of social skills higher than those scores gained by the control group.

3. The early childhood children were satisfied with the provision of experience according to the model of providing experience to enhance creative thinking and social skills of early childhood children using the Reggio Emilia and multi-sensory approaches (X̅ = 2.52, S.D. = .46).

คำสำคัญ
รูปแบบการจัดประสบการณ์, ความคิดสร้างสรรค์, ทักษะทางสังคม, เรกจิโอ, เอมีเลีย, พหุสัมผัส
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 63.41 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 323.78 KB
3 ประกาศคุณูปการ 43.38 KB
4 บทคัดย่อ 63.98 KB
5 สารบัญ 101.58 KB
6 บทที่ 1 180.64 KB
7 บทที่ 2 764.12 KB
8 บทที่ 3 452.46 KB
9 บทที่ 4 248.66 KB
10 บทที่ 5 164.79 KB
11 บรรณานุกรม 137.89 KB
12 ภาคผนวก ก 693.95 KB
13 ภาคผนวก ข 3,276.20 KB
14 ภาคผนวก ค 40.62 KB
15 ภาคผนวก ง 70.66 KB
16 ภาคผนวก จ 867.58 KB
17 ภาคผนวก ฉ 114.64 KB
18 ภาคผนวก ช 8,756.55 KB
19 ภาคผนวก ซ 8,303.21 KB
20 ภาคผนวก ฌ 74.73 KB
21 ประวัติย่อของผู้วิจัย 33.75 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 ธันวาคม 2560 - 12:22:07
View 3339 ครั้ง


^