สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เกี่ยวกับการก่อสร้างฝายน้ำล้นพัฒนาชนบทบ้านซ่งเต่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนราษฎรที่ได้รับผลกระทบ รวม 10 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย Focus Group ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยได้ผลสรุปจากการวิจัย ดังนี้
สภาพปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ และความต้องการการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมของกลุ่มผู้ใช้น้ำฝายน้ำล้นพัฒนาชนบทบ้านซ่งเต่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เกิดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้ราษฎรในพื้นที่ทราบ การบริหารการใช้น้ำไม่ตรงตามความต้องการ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ ไม่รับฟังปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมทั้งการดูแลรักษาระบบส่งน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพ วิธีบริหารจัดการน้ำเพื่อความขัดแย้ง เกี่ยวกับการก่อสร้างฝายน้ำล้นพัฒนาชนบทบ้านซ่งเต่า ตำบลนาเพียง อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ได้แก่ 1) ทำการเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลางที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย มุ่งแก้ไขปัญหาแบบประสานความร่วมมือ และเจรจาโดยยึดผลประโยชน์ร่วมกัน และผลการเจรจาต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการไกล่เกลี่ยเบื้องต้น โดยมีการเจรจา แบบเป็นทางการระหว่างราษฎรผู้ได้รับผลกระทบกับหน่วยงานของรัฐระดับอำเภอ แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงรายงานผู้ว่าราชการจังหวัด 3) ผู้ว่าราชการจังหวัดเชิญตัวแทน ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และ 4) ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการจัดการความขัดแย้ง โดยให้ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการความขัดแย้งด้านการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร คือ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการการใช้น้ำ เพื่อให้การแก้ปัญหาและการจัดสรรการใช้น้ำ ของกลุ่มผู้ใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 2) ชลประทานควรประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานได้ทราบถึงปริมาณน้ำ ที่สามารถกักเก็บได้ เพื่อจะได้จัดทำแผนการใช้น้ำได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 3) หน่วยงานรัฐควรเปิดโอกาสให้ชุมชน ที่อยู่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำได้ อย่างเต็มความสามารถของแต่ละชุมชน รวมทั้งการรับฟังปัญหาและความต้องการ ของชุมชน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการน้ำและลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น 4) หน่วยงานภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจน เหมาะสม เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับราษฎร 5) หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มากกว่าวิธีการจัดการน้ำตามกระแสทุนนิยม และควรนำเอาวัฒนธรรมชุมชน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น มาช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมากกว่านำกฎหมายมาช่วยในการแก้ไขความขัดแย้ง
The objective of this qualitative research was to investigate guidelines for the Water Resources Management, to resolve the conflicts about building a dike, Ban Song Tao Rural Development, Naphiang sub-district, Kusuman district, Sakon Nakhon province. A sample used in this study was 10 people as representatives of the government sector and of the people who had been affected by building the dike. The instruments used were an interview guide and small group meetings for a focus group discussion. Content analysis was conducted by this author to reach the conclusions of study as follows:
The state of problem in Water Resources Management and in need of water use for agriculture of the group of water users from the dike, Ban Song Tao Rural Development, Naphiang sub-district, Kusuman district, Sakon Nakhon province was occurred from the concerned agencies. No details of the project were explained to the local people. Management of water did not meet the requirements. There was no concrete policy. There was no opportunity for community participation in water management. Listening to the problems and needs of the community was not available. In addition, the maintenance of water delivery system was inefficient.
The methods to manage conflicts about building a dike, Ban Song Tao Rural Development, Naphiang sub-district, Kusuman district, Sakon Nakhon province were as follows. 1) The negotiation was done by a mediator who was accepted by all parties. The participatory solution of problem was aimed to make through the negotiation with mutual benefits and the results of the negotiation must be accepted to both parties. 2) The related agencies must conduct a preliminary mediation. The formal negotiations between the representatives of those being affected and the government agencies at district level must be held. The facts would, then, be reported to the government. 3) The governor was to invite representatives of all related agencies to attend the meeting for solving the problem. And 4) the governor together with the related agencies would integrate the methods of conflict management by taking advantage of the public as a priority.
The appropriate approaches to conflict management concerning the allocation of water for agriculture are: 1) the related agencies should develop the efficiency of water use management in order that the problem solution and allocation of water for the users group can reach the highest efficiency; 2) the irrigation should exercise the public relations to members of the irrigation water users for being informed of the amount of irrigation water that can be stored, so that a plan to use water is made correctly and properly; 3) the government agencies should open an opportunity to the upstream, midstream and downstream communities as well as listen to the problems and needs of the community for seeking the proper water management guidelines to reduce anticipated disputes; 4) the government agencies should have a clear, appropriate and concrete policy in resolving the conflict problem between the state and the people; and 5) government agencies should give priority to local wisdom to be used in the management of water resources over how to manage water through capitalism and culture of the community or local wisdom should be used to reduce disputes rather than bringing the law to help resolve the conflict.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 186.31 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 66.25 KB |
3 | บทคัดย่อ | 200.18 KB |
4 | สารบัญ | 173.97 KB |
5 | บทที่ 1 | 233.13 KB |
6 | บทที่ 2 | 979.93 KB |
7 | บทที่ 3 | 140.78 KB |
8 | บทที่ 4 | 252.95 KB |
9 | บทที่ 5 | 172.07 KB |
10 | บรรณานุกรม | 239.32 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 159.38 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 84.55 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 1,313.52 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 599.98 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 88.38 KB |