ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครามสกลนครสู่สากล
Strategic Proposals for Deverloping Local Indigo Dyed Products of SakonNakhon to Become International Products
ผู้จัดทำ
นันทกาญจน์ เกิดมาลัย รหัส 56632234102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ละมัย ร่มเย็น, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชัย อุดมกิจมงคล
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครามสกลนคร 2) จัดทำและยืนยันข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครามสกลนครสู่สากล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสาน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการผลิตผ้าคราม จำนวน 50 คน สัมภาษณ์เชิงลึก 10 คน การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์กลุ่ม จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจผ้าย้อมคราม จำนวน 15 คน และนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันยุทธศาสตร์ จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครามสกลนคร ได้แยกสภาพการใช้ครามสกลนคร เป็นยุคการใช้คราม 4 ยุค ยุคดั้งเดิมใช้ครามเป็นปัจจัย 4 ในชีวิตประจำวัน ยุคถดถอยการเติบโตของสีเคมีและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ยุคฟื้นฟูชาวบ้านไม่มีทางออก และยุคปัจจุบันการเติบโตของธุรกิจผ้าครามจากนโยบายส่วนกลางที่ส่งเสริมการยกระดับรายได้ ส่งผลมาสู่นโยบายภูมิภาคของจังหวัด หน่วยงานภาครัฐให้การส่งเสริมและสนับสนุนนโยบาย “เมืองแห่งผ้าย้อมครามธรรมชาติ (City of indigo dye)” รณรงค์ให้ใส่ผ้าย้อมครามทุกวันศุกร์ ผลิตภัณฑ์หลักคล้ายคลึงกัน ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าถุง หากแตกต่างก็จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ภาพลักษณ์ด้านราคาใช้กลยุทธ์ราคาสูง และมีการปรับราคาตามความต้องการของผู้ซื้อ ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิมจำหน่ายที่กลุ่มเป็นหลัก การส่งเสริมการตลาดเพื่อดึงดูดการตัดสินใจซื้อน้อย การใช้เทคโนโลยีการด้านการตลาดมีจำกัด มีอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ปัญหาการพัฒนาครามสกลนคร พบว่า ผู้ประกอบการมีจำนวนมากขาดระบบควบคุมคุณภาพ ขาดช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ ขาดการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต ต้นทุนการผลิตสูง ไม่มีมาตรฐานการกำหนดราคา ขาดความสามารถในการทำการตลาดใหม่ ๆ ขาดการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาดที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครามสกลนครสู่สากล พบว่า  ยุทธศาสตร์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ครามสกลนครสู่สากลแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรก 5 ปี กำหนดวิสัยทัศน์สกลนครเมืองแห่งครามธรรมชาติสู่สากล ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการครามอินทรีย์ธรรมชาติสู่เมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ยกระดับแปลงปลูกครามออกานิค Farming and Zoning ยกระดับผลิตภัณฑ์ครามอินทรีย์ธรรมชาติสู่มาตรฐานคุณภาพระดับสากล และสร้างระบบตลาดครามอินทรีย์ธรรมชาติสู่สากลอย่างยั่งยืน และเพื่อให้เกิดผลในรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ได้วางยุทธศาสตร์ระยะยาว 10 ปี โดยนำเสนอวิสัยทัศน์สกลนครเป็นเมืองแห่งแฟชั่นงานฝีมือจากครามธรรมชาติสู่สากล ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ คือ สร้างเครือข่ายแบบบูรณาการแฟชั่นจากงานฝีมือครามธรรมชาติสู่สากลยุทธศาสตร์ที่ยกระดับผลิตภัณฑ์งานฝีมือสู่มาตรฐานคุณภาพระดับสากล และสร้างระบบตลาดงานฝีมือสู่สากลอย่างยั่งยืน การจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าวทำให้เห็นภาพของอนาคตครามที่จะเกิดขึ้นในช่วง 5 ปี และ 10 ปี มีการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินการและการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เป็นประเด็นที่สำคัญที่มุ่งเน้นในการพัฒนา

Abstract

The purposes of this research were 1) to analyze the conditions and problems of   developing  SakonNakhon local products which were made from indigo dye, 2) to gain and confirm  the strategic proposals for deverloping and enabling SakonNakhon local products made from indigo dye  to enter  and be sold in the international level. A mixed  methods research design was adopted for this study. The samples were purposively selected. In terms of quantitative approach,  the questionnaire was used to collect the data from 50 entrepreneurs of indigo dyed fabrics while 10 of them underwent in-depth interviews. In light of qualitative approach, 15 stake holders in the business of indigo dyed fabrics were included for in-depth and group interviews. Then, the strategic proposals were presented to obtain confirmation from 10 experts. The statistics employed for data analysis consisted of mean and content analysis.

The study found that the development of indigo dyed products in SakonNakhon could be subdivided into four eras. In the first Primeval Era, indigo dye was used in  producing all four requisites (food, clothes, shelters, and medicine) needed for daily living by sakonNakhon people. In the second Recession Era, the chemical colors and ready-made clothes from factory emerged causing a decrease of using the natural indigo dye. In the third Renaissance Era, there were not many channels, exits or solutions for the villagers to produce and sell their indigo dyed products. Luckily, in the Present Era, with the central  government policy to increase the villagers’ income, the businesses of the  indigo dyed products thrived. Subsequently, to abide by the central government policy, the province announced its policy on promoting and increasing the villagers’ income. With the support and enhancement from all government sectors, the policy on making SakonNakhon to become the City of Indigo Dyed Textiles was campaigned and run. On Fridays, government officials would put on their indigo dyed clothes to work. Exploring the products made from indigo dyed fabrics, it was found that many major products such as the shawls, scarfs, long skirts (sarong) seemed to be each other. If any of these items looked different, they would appeared attractive and gain interest from the  consumers. Regarding the price image, the strategy employed was premium or high pricing. However, the prices could be adjusted according to the buyers’ demands. These indigo dyed products were sold at the original outlets of the groups. Marketing promotion  was rarely performed to enhance and boost the buying decision. Marketing technology was limitedly used. Only new generation of entrepreneurs employed the marketing technology to increase their sales.

The study revealed many problems of developing SakonNakhon indigo dyed  products. There were many entrepreneurs. At the same time, there were no new distribution and sakes channels. Technology and innovation were not adopted for  producing the goods. The costs of production were high. There were no standards for pricing the goods. The entrepreneurs were incapable of finding the new markets while no  new marketing was conducted. There were not both advertising and marketing promotion  which could help boost the purchase of SakonNakhon indigo dyed products.

The strategic proposals were planned for the development of SakonNakhon  indigo dyed products. These strategies were divided into 2 phases. In the first five-year stage, the vision of taking SakonNakhon, the city of natural indigo dyed products, to enter the international level was established. Four strategies were planned in order to achieve the goal of this vision. The first strategy was to build the network of entrepreneurs who did the province to become the sustainable travel and tourist city. The second strategy was to upgrade the indigo growing plots by having the scheme for its farming and zoning. The next strategy was to improve the made from organic  indigo dye to meet the international standards. The last strategy was to sustainably create  the international markets for these products of the organic indigo dye. With the aim to consistently gain the concrete results, the ten-year strategies were planned as well. Consequently, this vision of making SakonNakhon to become the International Fashion  Capital for Indigo Dyed Fabrics was set. Accordingly, three strstegies were established. The first strategy was buiding and taking the integrated fashion network of natural  indigo dyed crafts and clothes to enter the international level. The second strategy was to  upgrade natural indigo dyed and clothes to meet the international qualities. The third strategy was to sustainably build the international market system for the natural indigo dyed crafts and clothes. The future of SakonNakhon indigo dyed products in the  next five and ten years could be visualized by the proposals and establishment of these important development strategies.

คำสำคัญ
ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์, ผลิตภัณฑ์ครามสกลนคร, สากล
Keywords
Strategic proposals, Sakon Nakhon Indigo dyed products, International
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 180.76 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 352.56 KB
3 ประกาศคุณูปการ 73.25 KB
4 บทคัดย่อ 114.15 KB
5 สารบัญ 202.64 KB
6 บทที่ 1 452.81 KB
7 บทที่ 2 2,932.18 KB
8 บทที่ 3 266.83 KB
9 บทที่ 4 3,651.14 KB
10 บทที่ 5 361.14 KB
11 บรรณานุกรม 358.85 KB
12 ภาคผนวก ก 777.15 KB
13 ภาคผนวก ข 97.00 KB
14 ภาคผนวก ค 129.42 KB
15 ภาคผนวก ง 126.13 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 85.80 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 09:49:33
View 1144 ครั้ง


^