สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อนำเสนออนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2561-2570 โดยใช้วิธีวิจัยอนาคตแบบผสานวิธี แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบแนวคิดอนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2561-2570 โดยทำการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุระยะที่ 2 การศึกษาอนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า 2561-2570 ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) และระยะที่ 3 การนำเสนออนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2561-2570 โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบชนิดมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2561-2570 ประกอบด้วย ด้านสภาพอารมณ์ที่ดี ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านการตัดสินใจด้วยตนเอง ด้านการรวมกลุ่มทางสังคมและด้านสิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ควรนำแนวคิดของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาปรับใช้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้วย
2. การนำเสนออนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม ในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2561-2570 โดยการตรวจสอบความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในด้านความเหมาะสม/โอกาสที่เป็นไปได้ของอนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า พ.ศ. 2561–2570 พบว่า ทุกด้านมีความเป็นไปได้มาก และเป็นภาพอนาคตที่ดี โดยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและการเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายผ่านทุกภาคส่วนได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อนำไปสู่อนาคตภาพการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดนครพนมในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2561-2570)
The purpose of this study was to present the scenarios of the enhancements of Nakhon Phanom elderly’s quality of lives in the next decade (2018-2027) using mixed methods research approach. The investigation was divided into three phases. Phase 1 involved the development of the conceptual framework of the study by examining the concepts, theories, and relevant research studies. Specialists whose expertise was in the area of elderly were taken to undergo in-depth interviews. In phase 2, 18 specialists had been profoundly interviewed by employing Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR). Phase 3 was the presentations of the scenarios of enhancing Nakhon Phanom elderly’s quality of lives in the next decade (2018-2027) by forty-two specialists. The instruments used for data collection included semi-structured interview form, structured interview form, and rating scale questionnaire. The statistics used for analyzing the data consisted of percentage, mean, and standard deviation. In light of the qualitative data, content analysis was adopted.
The study unveiled these results:
1. The quality of lives of Nakhon Phanom elderly in the next decade (2018-2027) comprised these aspects: good temper, personal relations, the well-being of the elderly, self-development, physical health, the ability to decide by themselves, social and legal associations in compliance with their rights. Besides, the concepts from the Philosophy of Sufficiency Economy should be significantly applied in order to establish the guidelines on enhancing the elderly’s quality of lives.
2. The scenarios of the enhancements of Nakhon Phanom elderly’s quality of lives in the next decade (2018-2027) had been examined by the specialist to assess their appropriateness and feasibility. It was found that every scenario was good and highly feasible based on the ground that these strategies would be established and launched: human resources development and human resources potential enhancements as well as the creation of social equality and opportunity for the elderly. The activation of these strategies by mutual responsibilities of all parties would help make the goals of the scenarios of the enhancements of Nakhon Phanom elderly’s quality of lives in the next decade (2018-2027) achievable.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 151.83 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 359.57 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 55.62 KB |
4 | บทคัดย่อ | 101.83 KB |
5 | สารบัญ | 166.94 KB |
6 | บทที่ 1 | 237.40 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,249.79 KB |
8 | บทที่ 3 | 254.90 KB |
9 | บทที่ 4 | 926.13 KB |
10 | บทที่ 5 | 215.63 KB |
11 | บรรณานุกรม | 216.05 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,282.58 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 76.85 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 344.27 KB |
15 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 74.86 KB |