สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ ให้มีประสิทธิภาพ 75/75 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ ให้มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ 0.50 ขึ้นไป 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ 6) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยตาเปอะ อำเภอคำชะอี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 17คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ เรื่อง ร่างกายของเรา แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพค่าดัชนีประสิทธิผลและสถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.82/78.76ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75ที่กำหนดไว้
2. การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.65 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 0.50 ขึ้นไป
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5ขั้น ร่วมกับเทคนิคหมวกหกใบอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were: 1) to develop learning management based on 5E Inquiry learning cycle in tegrated with six thinking hats technique to contain the efficient standard of 75/75; 2) to deter mind the efficiency index of the developed learning management to attain the efficient index standard criter a of 0.50; 3) to compare the students’ analytical thinking both before and after theintervention; 4) to compare the students’ scientific process skills both before and afterthe intervention; 5) to compare the students’ achievement gained both before and after theintervention; and 6) to examine the students’ satisfaction towards the developed learning management.The target group were 17 prathomsuksa 6 students who were studying in the second semester of off 2015 academic year at Houytaper School under Mukdahan Primary Educational Service Office. They were obtained by purposive random sampling. The instruments included a learning management on “My Body” base on 5E lnquiry learning cycle in tegrated with six thinking hats technique, a students’ analytical thinking test, a test of students’ scientific process skills, a satisfaction test. The statistics used in this research were percentage, mean (X̅), standard deviation (S.D.), efficiency value (E1/E2), effectiveness index (E.I.), and t-test (Dependent Samples).
The study unveiled these results:
1. The efficiency of learning management based on 5E Inquiry learning cycle integrated with six thinking hats technique was 79.82/78.76, which was higher than the set criteria of 75/75.
2. The effectiveness index of the developed learning was 0.65 which was higher than the set criteria of 0.50.
3. The students’ analytical thinking after learning through the developed learning management was statistically higher than that of before learning at the .05 level of significance.
4. The students’ scientific process skills after learningthrough the developed learning management were statistically higher than that of beforelearning at the .05 level of significance.
5. The students’ learning achievement after leaning through the developed learning management were statistically higher than that of beforelearning at the .05 level of significance.
6. The students’ statisfaction towards the developed learningwas at ahigh level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 114.01 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 65.71 KB |
3 | บทคัดย่อ | 223.48 KB |
4 | สารบัญ | 119.64 KB |
5 | บทที่ 1 | 355.55 KB |
6 | บทที่ 2 | 819.58 KB |
7 | บทที่ 3 | 584.66 KB |
8 | บทที่ 4 | 588.45 KB |
9 | บทที่ 5 | 443.47 KB |
10 | บรรณานุกรม | 316.89 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 1,154.16 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 511.54 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 311.19 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 420.02 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 819.68 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 216.83 KB |