ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนในภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Causal Relationship Model of Factors Influencing an Effectiveness Of Thai Traditional Medicine Health Services of the Community Hospitals in the Upper Northeast
ผู้จัดทำ
วัชรินทร์ บุญรักษา รหัส 57632234102 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารการพัฒนา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ดร.ปณิธี การสมดี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยของโรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อยืนยันข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสียและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธี โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล จำนวน 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.97 โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสมการโครงสร้างและทำการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ทำการยืนยันข้อมูลและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดบริการสุขภาพ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1) โมเดลการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงคือการจัดการเชิงกลยุทธ์ (β=0.451) การสื่อสารในองค์การ (β=0.302) แรงจูงใจในงาน (β=0.174) กับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (β=0.697) แรงจูงใจในงาน (β=0.098) นอกจากนี้เมื่อพิจารณาโมเดลสมการโครงสร้างสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพได้ ร้อยละ 64.70 2) โมเดลการวิจัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาค่าสถิติ χ2=114.619, df=93, χ2/df=1.232, p=0.063, CFI=0.995, TLI=0.992, RMSEA = 0.023, SRMR = 0.024  3) ผลการยืนยันข้อมูลกับผู้มีส่วนได้เสียและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยดังนี้ หน่วยงานในระดับนโยบายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมผู้บริหารของโรงพยาบาลชุมชน ควรให้ความสำคัญมุ่งนำการจัดการเชิงกลยุทธ์ นำองค์ประกอบของกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง กลยุทธ์มุ่งเน้น และกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ มาปรับปรุงประสิทธิผลองค์การ

Abstract

The purposes of this research were 1) to construct the causal relationship model of factors which influenced the effectiveness of Thai traditional medicine health services of the community hospitals located in the upper Northeast, 2) to examine the consistency between the constructed model and the empirical data, 3) to confirm the information to the stakeholders as well as to propose the policies on managing Thai traditional medicine services. A mixed methods research approach was adopted for the investigation. Using the questionnaire whose reliability was 0.97, the data was collected from 452 administrators and staff of Thai traditional medicine health services. Causal relationships were analyzed by the structural equation of the model to determine and confirm its consistency with the empirical data. Then, the policies on the traditional health services were proposed to the stakeholders.

The study yielded these results:

1. The variables which directly influenced  the research model included  the strategic management (β = 0.451), the organization’s internal communication (β = 0.302), and work motivation (β = 0.174). The variables which indirectly influenced the research model consisted of transformational leadership (β = 0.697) and work motivation (β = 0.098). When considering the structural equation of the model, it was found that the Thai traditional medicine health services had the variance of its effectiveness at 64.70%.

2. The research model had its consistency with its empirical data. (x2  =114.619, df = 93, x2/df=1.232, p=0.063, CFI=0.995, TLI=0.992, RMSEA=0.023, SRMR=0.024).

3. The data confirmation had been projected to the stakeholders together with the policy proposals. It was recommended that the community hospitals’ administrators in particular should perceive and comprehend the importance of using the strategic management. The elements of these strategies should be taken to improve the effectiveness of the organizations: differentiation strategy, focus strategy, and low cost strategy.

คำสำคัญ
ประสิทธิผลการจัดบริการสุขภาพ, การแพทย์แผนไทย, โรงพยาบาลชุมชน
Keywords
Effectiveness of health care service, Thai traditional medicine, community hospital
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 158.45 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 376.18 KB
3 ประกาศคุณูปการ 61.87 KB
4 บทคัดย่อ 168.59 KB
5 สารบัญ 118.59 KB
6 บทที่ 1 295.52 KB
7 บทที่ 2 2,353.65 KB
8 บทที่ 3 299.52 KB
9 บทที่ 4 549.11 KB
10 บทที่ 5 223.95 KB
11 บรรณานุกรม 310.23 KB
12 ภาคผนวก ก 6,962.81 KB
13 ภาคผนวก ข 71.05 KB
14 ภาคผนวก ค 443.07 KB
15 ภาคผนวก ง 4,943.54 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 83.38 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 09:33:53
View 943 ครั้ง


^