สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายศึกษาปัญหาความยากจนเมืองบัวละพา ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อครัวเรือนยากจน เมืองบัวละพา 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์สภาพแวดล้อมของครัวเรือนยากจน เมืองบัวละพา 3) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาครัวเรือนให้พ้นความยากจน เมืองบัวละพา ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ และ4) ยืนยันยุทธศาสตร์การพัฒนาครัวเรือนให้พ้นความยากจน เมืองบัวละพา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เป็นการใช้วิธีการเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ผสมกับวิธีการเชิงคุณภาพ โดยใช้การการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม กลุ่มตัวอย่างคือ ตัวแทนครัวเรือนบ้านน้ำออกฮู จำนวน 60 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากครัวเรือนยากจน จำนวน 30 คน และตัวแทนจากครัวเรือนพ้นความยากจน 30 คน และผู้เชี่ยวชาญภาครัฐที่เกี่ยวข้องพร้อมด้วยผู้นำชุมชนจำนวน 21 คน รวมเป็น 81 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยที่ส่งผลต่อครัวเรือนยากจน ประกอบด้วย 7 ปัจจัย คือ 1) การศึกษา ครัวเรือนยากจนส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ หมู่บ้านอยู่ห่างไกลต้องเดินเท้าไปโรงเรียน
2) สาธารณสุข ไม่มีสถานบริการสาธารณสุขในหมู่บ้าน 3) อาหาร พื้นที่ดินทำกินมีน้อยต้องเช่าที่ทำกิน แหล่งน้ำดื่มมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 4) ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนสร้างจากวัสดุไม่คงทน ส่วนใหญ่ไม่มีห้องสุขา และไม่มีไฟฟ้าใช้ 5) เส้นทางคมนาคม การคมนาคมใช้ทางเดินเท้าเป็นหลัก 6) ข้อมูลข่าวสาร ไม่มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และ 7) รายได้ ครัวเรือนมีสมาชิกหารายได้เพียงคนเดียว อาชีพรับจ้างทั่วไป และทำการกสิกรรม ไม่มี
เงินออม รายได้ต่ำกว่า 6,000 บาทต่อปี และมีหนี้สินทุกครัวเรือน
สภาพแวดล้อมของครัวเรือนยากจนเมืองบัวละพา พบว่า จุดแข็ง และโอกาส ได้แก่ 1) ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ 2) ความหลากหลายทางชีวภาพ 3) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ 4) จุดเชื่อมต่อชายแดนระหว่างลาว-เวียดนาม 5) การสร้างตลาดชนเผ่า 6) ประชาชนพร้อมรับการพัฒนา 7) ชุมชนมีปราชญ์ชาวบ้าน 8) สามารถขอการสนับสนุนจากธุรกิจเอกชนตามหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทเอกชนโอกาสได้แก่ 1) ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ 2) โอกาสการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) นโยบายการส่งเสริมการพัฒนาจากภาครัฐ 4) นโยบายส่งเสริมบรรดาชนเผ่าตามอุดมการณ์รัฐสังคมนิยม
การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาครัวเรือนให้พ้นความยากจน ได้แก่ 1) ด้านการศึกษา ประชาชนสามารถอ่านออกเขียนได้ขั้นพื้นฐาน 2) ด้านสาธารณสุข ประชาชนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง 3) ด้านอาหาร ชุมชนมีความมั่นคงด้านอาหาร มีระบบโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะ 4) ด้านที่อยู่อาศัย ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 5) ด้านเส้นทางคมนาคม สร้างเส้นทางที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างหมู่บ้าน 6) ด้านข้อมูลข่าวสารสร้างระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถเชื่อมโยงถึงกันทุกหมู่บ้าน 7) ด้านรายได้ เพิ่มรายได้ของครัวเรือนยากจนให้พ้นภาวะความยากจน
การยืนยันยุทธศาสตร์การพัฒนาครัวเรือนให้พ้นความยากจน พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการศึกษา ( = 4.81) ด้านสาธารณสุข ( = 4.77) ด้านอาหาร ( = 4.75) ด้านที่อยู่อาศัย ( = 4.67) ด้านเส้นทางคมนาคม ( = 4.65) ด้านข้อมูลข่าวสาร ( = 4.62) และด้านรายได้ ( = 4.60)
The purposes of this study were: 1) to investigate factors affecting the poor households in Boualapha district, 2) to analyze and synthesize the environment of the poor households in Boualapha district, 3) to create a feasible and appropriate strategy for developing the households in Boualapha district to be freed from poverty, and 4) to confirm that the strategy for developing the households to be freed from poverty is feasible and appropriate for using. The mixed research method was used with quantitative method using questionnaire, and qualitative method using focus group discussion, in-depth interview and participatory workshop. A sample of 81 people included 30 representatives of the poor households, 30 household representatives who were freed from poverty, 19 government specialists, and 2 community leaders. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.
Findings of the study were as follows:
The factors that affected the poor households consisted of 7 factors: 1) Education. Most poor households were uneducated. The village was far away to walk to school. 2) Public health. There were no public health service facilities in the village. 3) Food. There was little arable land. They needed to rent it. Drinking water usually came from natural water sources. 4) Housing. Houses were made from non-durable materials. Most of them had no toilets and electricity. 5) Transport. The traffic mainly employed foot-paths. 6) Information. There was no news distribution tower in the village. 7) Income. In each household, there was only one member who could earn money, usually from a typical job for wages or agriculture. They had no savings and had income lower than 6,000 baht per year. All the households had debts.
The environment of the poor households found that it had strength and opportunities in the following: Strength: 1) Ethnic diversity. 2) Bio-diversity. 3) Eco-tourism development. 4) Lao-Vietnam cross-border point. 5) The building of ethnic market. 6) The people are ready for development. 7) There are a lot oflocal wisdom in the village. 8) The support for development from private businesses under the SCR. Opportunities: 1) Foreign aids. 2) Sustainable Development. 3) State development policy. 4) State policy to support ethnic groups under the socialist ideology.
The strategy created for the development of the households to be freed from poverty includes the following aspects: 1) Education. People have the basic ability of reading and writing. 2) Public health. People have the basic knowledge in caring for themselves. 3) Food. People have food security and hygienic nutrition. 4) Housing. People have a safe and sanitary house. 5) Transport. Roads are built to connect villages. 6) Information. Effective communication systems are built to connect every village. 7) Income. The income of the poor households is increased to be freed from poverty.
Upon the confirmation of the strategies to develop the households to be freed from poverty, it found that the overall strategy was at the highest level( = 4.70). When considering each aspect, all of which were at the highest level based on the descending order of the mean scores of the strategies as follows: education ( = 4.81), public health ( = 4.77), food ( = 4.75), housing ( = 4.67), transport ( = 4.65), information ( = 4.62), and income ( = 4.60).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 97.56 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 553.89 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 61.74 KB |
4 | บทคัดย่อ | 141.41 KB |
5 | สารบัญ | 218.72 KB |
6 | บทที่ 1 | 380.54 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,135.54 KB |
8 | บทที่ 3 | 358.51 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,439.16 KB |
10 | บทที่ 5 | 448.85 KB |
11 | บรรณานุกรม | 364.57 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 252.24 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 855.25 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 86.27 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 384.82 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 94.29 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 103.13 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 1,594.24 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 98.22 KB |