สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตร “ฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำ” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตรและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบทักษะการฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำของนักเรียน หลังเรียนตามหลักสูตรกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) เปรียบเทียบความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนโคกเลาะวิทยาคาร สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 คน ซึ่งเป็นนักเรียนเลือกเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองหลักสูตรได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน แบบวัดความตระหนักถึงคุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่นกับฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent samples t–test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 องค์ประกอบ คือ 1) ชื่อหลักสูตร 2) ที่มาและความสำคัญ 3) หลักการของหลักสูตร 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 5) สาระการเรียนรู้ 6) เนื้อหาสาระและผลการเรียนรู้ 7) คำอธิบายรายวิชา 8) โครงสร้างรายวิชา 9) แนวทางการจัดกิจกรรมเรียนรู้ 10) การวัดและประเมินผล 11) เกณฑ์การตัดสินผลการเรียน และ 12) สื่อและแหล่งเรียนรู้ ซึ่งหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51)
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80
3. นักเรียนมีทักษะการฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำหลังเรียนตามหลักสูตรผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มทุกทักษะ
4. นักเรียนมีความตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับฟ้อนออนซอนงามงอนไอ่คำ ตามหลักสูตร หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were: 1) to develop a course curriculum on “Beautiful Dance Performance of Pretty Ai Kham” in the Arts Learning Substance Group for junior high school students, 2) to compare students’ knowledge and understanding about beautiful dance performance of pretty Ai Kham and of local wisdom culture in Isan folk dance between before and after learning based on the 80 percent criterion, 3) to compare students’ skills in beautiful dance performance of pretty Ai Kham after learning according to the course curriculum based on the 80 percent criterion, and 4) to compare students’ awareness of the values of local wisdom and beautiful dance performance of pretty Ai Kham between before and after learning. A sample 16 was students enrolled in school dancing club in the second semester of academic year 2018 at Khok Lo Withayakhom School under the Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 1. The instruments in experiment of the course curriculum usage were: learning management plans, a test of knowledge and understanding about beautiful dance performance of pretty Ai Kham and local wisdom culture in Isan folk dance, a form for measuring awareness of the values of local wisdom and beautiful dance performance of pretty Ai Kham. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for dependent samples.
The findings of research revealed the following.
1. The developed curriculum possessed 12 key components: 1) title of the course curriculum, 2) background and significance, 3) principles, 4) objectives, 5) learning substance, 6) contents and learning outcomes, 7) course description, 8) course structure, 9) learning activity management guidelines, 10) measurement and evaluation, 11) criteria for judging grades, and 12) media and sources of learning. It appeared that the developed course curriculum was appropriate at the highest level ( = 4.54, S.D. = 0.51).
2. Students had higher knowledge and understanding about “beautiful dance performance of pretty Ai Kham” and local wisdom culture in Isan folk dance after learning than that before learning at the .01 level of statistical significance based on the 80 percent predetermined criterion.
3. Students passed the predetermined criterion at 80 percent of each skill’s full score after learning based on the course curriculum concerning beautiful dance performance of pretty Ai Kham.
4. Students had higher awareness of the values of local wisdom and beautiful dance performance of pretty Ai Kham based on the course curriculum after learning than that before learning at the .01 level of statistical significance.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 135.50 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 392.15 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.73 KB |
4 | บทคัดย่อ | 125.19 KB |
5 | สารบัญ | 222.67 KB |
6 | บทที่ 1 | 219.63 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,733.79 KB |
8 | บทที่ 3 | 265.52 KB |
9 | บทที่ 4 | 644.23 KB |
10 | บทที่ 5 | 217.86 KB |
11 | บรรณานุกรม | 232.70 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,736.31 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 276.18 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 777.56 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 313.44 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 1,051.47 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 322.00 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 4,231.98 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 100.25 KB |