สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการสอนแบบโครงการร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการสอนแบบโครงการร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการสอนแบบโครงการร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านเหล่าคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 16 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรม 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ การทดสอบที (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างทั้งสองเป็นอิสระต่อกัน (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการสอนแบบโครงการร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าเท่ากับ 81.42/81.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยสอนแบบโครงการร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยการสอนแบบโครงการร่วมกับแนวคิดการเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก ( = 2.73), (S.D. = 0.43)
The purposes of this research were: 1) to develop the experience -enhancement activities through project approach integrated with scaffolding concept to improve scientific process skills for early childhood to achieve the 80/80 efficiency criterion; 2) to compare scientific process skills of early childhood before and after the intervention; 3) to investigate the early childhood’s satisfaction toward the developed activities. The samples were 16 second-year kindergartners studying in the 2018 academic year at Banlaokarm School under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area, and were obtained through cluster random sampling by concentrating a classroom as a sampling unit. The research instruments were: 1) Lesson plans, 2) An assessment form concerning scientific process skills, and 3) A satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were mean, percentage, standard deviation and t-test for Independent Samples.
The findings were as follows:
1. The efficiency of the developed activities had an index of 81.42/81.25, which was higher the criterion set at 80/80.
2. The early childhood’s scientific process skills after the intervention were significantly higher than those of before the intervention at a statistical significant level of .01.
3. The early childhood’s satisfaction toward the developed activities was at a high level ( = 2.73), (S.D. = 0.43).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 129.20 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 422.80 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 64.95 KB |
4 | บทคัดย่อ | 122.01 KB |
5 | สารบัญ | 191.38 KB |
6 | บทที่ 1 | 291.55 KB |
7 | บทที่ 2 | 902.07 KB |
8 | บทที่ 3 | 387.96 KB |
9 | บทที่ 4 | 782.45 KB |
10 | บทที่ 5 | 225.60 KB |
11 | บรรณานุกรม | 212.85 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 1,073.95 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 955.53 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 3,580.87 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 472.99 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 86.66 KB |