ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Information System of Major Patterns of Pu Thai’s Fabric (Pa Saew), Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
ลัดดาวรรณ เนานาดี รหัส 58425117110 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชา วิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.จำนง วงษ์ชาชม, ดร.สุชานาถ สิงหาปัด
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาความและต้องการระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไทแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) วิเคราะห์โครงสร้างข้อมูลเพื่อออกแบบระบบแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 3) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 4) ประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้วิจัยกำหนด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือประชากรจะเป็นสตรีชาวผู้ไทที่มีความสามารถประดิษฐ์ลายผ้าแพรวาบนผ้าแส่วและสามารถบอกชื่อลายผ้าได้ มีช่วงอายุระหว่าง 50-80 ปี ที่อาศัยอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต ได้แก่ 1) บ้านละหาน้ำ เมืองสองคอน 2) บ้านเมืองจัน เมืองเซโปน  โดยสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 30 คน ผู้ไทเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาความต้องการระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไทแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ปัญหาการเก็บรักษามรดกภูมิปัญญาผ้าแส่ว เป็นการบันทึกลวดลายที่ผู้เป็นแม่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการจัดเก็บลายผ้าทั้งหมดนั้นเอาไว้ในผืนผ้าแส่ว เพื่อจะได้ส่งมอบให้กับลูกสาวเมื่อลูกสาวแต่งงานและออกเรือนไป ผ้าแส่ว (Pa Saew) ซึ่งเปรียบเหมือนแหล่งจัดเก็บแม่ลายผ้าแพรวานั้นเหลืออยู่น้อยมาก เนื่องจากสตรีชาวผู้ไทที่เป็นช่างฝีมือทอผ้าแพรวาส่วนใหญ่เสียชีวิตแล้ว ส่วนกลุ่มที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้สูงวัย ความต้องการที่จะนำสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเก็บลายผ้าแส่ว ผู้วิจัยได้วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไทแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยการนำสารสนเทศเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหากระบวนเพื่อการอนุรักษ์และการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไท อันจะเป็นช่วยอนุรักษ์ ส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไท ที่อาศัยอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แก่ชุมชน เยาวชนรุ่นหลัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่สนใจศึกษา และสืบสานมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่านี้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนและสามารถนำไปเก็บรักษาข้อมูลและต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป

2. จากผลการวิจัยในขั้นตอนที 1 ผู้วิจัยพบว่า ปัญหาการเก็บรักษามรดกภูมิปัญญาผ้าแส่วผู้ไท 1. ปัจจุบันยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการทอแม่ลายผ้าแส่วที่เป็นลายลักษณ์อักษรผู้ที่ต้องการอยากรู้ข้อมูลเรื่องลายผ้าต้องได้ไปถามเจ้าตัวเองทำให้เสียเวลาในการสอบถาม 2. ลวดลายบนผืนผ้าแส่วผู้ไทมีความยุ่งยากและใช้เวลานานในการทอจึงทำให้คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะสึบทอดการทอ  ความต้องการที่จะนำสารสนเทศเข้ามาช่วยในการเก็บลายผ้าแส่วผู้ไท ผู้วิจัยได้ไปศึกษาความต้องการของระบบจากกลุ่มประชากรตัวอย่างเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 1. สตรีชาวผู้ไทมีความต้องการอยากได้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล ลวดลายผ้าแส่วผู้ไท 2. อยากได้ระบบที่สามารถนำข้อมูลเข้าไปและสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 3. อยากได้ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการอนุรักษ์และการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวผู้ไท จากผลดังกล่าวได้นำมาวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล พบว่าข้อมูลที่สำคัญที่ควรมีในระบบ คือ หน้าหลักคำสำคัญ ประวัติความเป็นมาผ้าแส่วผู้ไท ช่างทอผ้าแส่ว แม่ลายผ้าแส่ว ผู้ดูแลระบบผู้ไท  3. ผู้ไทผลของการพัฒนาระบบระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ออกแบบระบบงาน ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานแล้วดังแสดงในบทที่ 3 ที่ประกอบไปด้วยส่วนหลักๆ เช่น ส่วนหัวของเว็บไซต์ ส่วนเมนูคำสั่งต่างๆ ของเว็บไชต์ ส่วนเนื้อหา ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตามวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ เป็นการสร้างแบบจำลองกระบวนการการทำงานของระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  โดยใช้แผนผังงานระบบ ซึ่งผู้วิจัยได้จำลองกระบวนการการทำงานกระแสข้อมูล DFD (Data Flow Diagram) หน้าจอของระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป 2. ส่วนของผู้ดูแลระบบ

4. การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศมาลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณะรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งสอดคล้องกับการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศมาลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขต สาธารณะรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ชึ่งผู้ออกแบบและดูแลระบบได้หนดขั้นตอน กระบวนการให้มีประสิทธิภาพ การความพึงพอใจระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่งผลมาจาก ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท แขวงสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เป็นไปตามหลักการทำงานของระบบ และการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพและโยชน์ของระบบ ด้านการออกแบบ ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน

Abstract

The purposes of this study were 1) to investigate the current conditions, problems and needs of the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic, 2) to analyze and classify the structure of the information required for designing the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic, 3) to develop the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic, 4) to assess the efficiency of the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic. The population of the study included women of 50 – 80 years of age who could design, indicate the patterns of, and made Pa Saew. These Savannakhet women inhabited in  Ban Lahanam, Songkhone District and Ban Meaungchan, Sepon District. Then 30 people had been purposively selected as the samples of the study. The instruments used for data collection were interview form, the form to record the group discussions, and a questionnaire. The statistics employed for data analysis comprised percentage, mean and standard deviation.

The study revealed the following results:

1. The current conditions, problems and needs of the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic:                     It was found that there were problems of conserving the wisdom of Pa Saew production. Pu Thai mothers made Pa Saew which would be given to their daughters when they got married. On these Pa Saew fabrics, the major patterns were kept and conserved. However, most mothers who were the sources or the original designers of the major patterns of Pa Saew died causing these sources of the major patterns to decrease. Consequently, the number of Pa Saew which contained the major patterns had declined. At the same time, the living sources or the mothers who are still alive are very old. About the needs of the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), the researcher had analyzed the stages of installing and launching the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic with the purposes to conserve, promote, and disseminate the unique knowledge, culture, and heritage of Pu Thai people who live in Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic. Using the information system, the community, next generation, relevant organizations, and interested persons could inherit and sustainably maintain the precious major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew). The conserved data of the Pa Saew major patterns could be applied and extended for producing other kinds of goods.

2. The researcher had discovered these problems of the conservation of Pa Saew in the first stage of the study.  1) The data concerning the knowledge of weaving the major patterns of Pa Saew had never literally recorded. Anybody who wanted to gain the information about these major patterns of Pa Saew had to meet and talk to the sources in person causing them to spend a lot of time to do so. 2) It was difficult and time consuming to weave and create the major patterns of Pa Saew because these patterns were complicated. Thus, the new generations were not interested in making or conserving Pa Saew weaving. Of the needs of the information system required for the conservation of the major patterns of Pa Saew, the researcher had explored the sampled respondents’ needs so that an information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic could be developed. Accordingly, these answers were given by Pu Thai women: 1) Pu Thai women needed an information system to collect and conserve the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), 2) These Pu Thai women required the system which an information could be keyed in and retrieved very quickly, 3) They required the information system which could help them conserve and disseminate the knowledge body of Pu Thai uniqueness. From these results replied by these Pu Thai women, the structure of an information system was analyzed and it was found that important data which had to be included in the system consisted of the main page, key words, the background of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), Pa Saew weavers, major patterns of Pa Saew, and system administrators.

3. The development of the information system of major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic provided the researcher’s with the analysis and design of the system. As shown in chapter three, some main parts had been featured on the system such as the heading of the website, command menus, and contents. The next stage was to develop the information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic using System Development Life Cycle (SDLC). System modelling was constructed by using Data Flow Diagram (DFD). The home page of the information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic was subdivided into two main sections: one for general users and another part for the system administrators.

4. Regarding an assessment of the efficiency of the information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic, it was found that as a whole the information system was considered efficient at the high level. This high efficiency corresponded to what the system administrators and designers had set and planned in all the stages and processes of the information system to be competently performing.  Thus, the users’ satisfaction of the information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic, as a whole, was at the high level. It could be said that the developed information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), of Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic featured operational principles of the system and had its efficiency and capacity to fulfill all four aspects of the users’ needs i.e. the efficiency and contribution of the system, design, support, and provision of services.

คำสำคัญ
ระบบสารสนเทศแม่ลายผ้าแส่วผู้ไท, ระบบสารสนเทศ, แม่ลายผ้าแส่วผู้ไท
Keywords
Information system of the major patterns of Pu Thai’s fabric (Pa Saew), information system, major patterns of Pu Thai’s fabric, Pa Saew
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 103.78 KB
2 ประกาศคุณูปการ 52.47 KB
3 บทคัดย่อ 167.16 KB
4 สารบัญ 187.55 KB
5 บทที่ 1 187.72 KB
6 บทที่ 2 739.34 KB
7 บทที่ 3 1,135.42 KB
8 บทที่ 4 3,597.71 KB
9 บทที่ 5 259.72 KB
10 บรรณานุกรม 120.98 KB
11 ภาคผนวก ก 623.56 KB
12 ภาคผนวก ข 219.05 KB
13 ภาคผนวก ค 123.23 KB
14 ประวัติย่อของผู้วิจัย 73.72 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 เมษายน 2562 - 15:45:44
View 1285 ครั้ง


^