สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาค่านิยมหลักของนักเรียนโรงเรียนท่าสงครามวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 2) หาแนวทางพัฒนาค่านิยมหลักของนักเรียนโรงเรียนท่าสงครามวิทยา และ 3) ติดตามผลการพัฒนาค่านิยมหลักของนักเรียนโรงเรียนท่าสงครามวิทยา ดำเนินการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ คณะผู้วิจัย จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 60 คน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือ นักเรียน จำนวน 154 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาค่านิยมหลักของนักเรียน โรงเรียนท่าสงครามวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
1.1 สภาพค่านิยมหลักของนักเรียน โรงเรียนท่าสงครามวิทยา พบว่า 1) ด้านซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน นักเรียนบางส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การหนีเรียน ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ไม่ช่วยเหลือผู้ปกครอง ครู และเพื่อนในการทำงานของส่วนรวม เป็นต้น 2) ด้านกตัญญูพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ พบว่านักเรียนบางส่วนพูดจาไม่ไพเราะ พูดจาไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เคารพผู้ใหญ่ เป็นต้น 3) ด้านความมีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ พบว่านักเรียนบางส่วน มาโรงเรียนไม่ตรงเวลา ขาดระเบียบวินัย แต่งกายไม่ถูกระเบียบ ขาดความรับผิดชอบในการทำงาน เป็นต้น
1.2 ปัญหาด้านค่านิยมหลักของนักเรียน พบว่า นักเรียนแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ครูและผู้ปกครองยังไม่มีแนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงถึงค่านิยมหลักของนักเรียน
2. แนวทางการพัฒนาค่านิยมหลักของนักเรียน ประกอบด้วย 1) กิจกรรมเช้าวันใหม่ 2) กิจกรรมพบพระพบธรรม 3) กิจกรรมยิ้มไหว้ ทักทาย 4) กิจกรรมคนดีศรีท่าสงคราม 5) โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพิ่มเติมในวงรอบที่ 2 คือ กิจกรรมบอกเตือน เพื่อนสอนกัน
3. ผลการติดตามการพัฒนาค่านิยมหลักของนักเรียน โรงเรียนท่าสงครามวิทยาในวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ทำให้นักเรียนโรงเรียนท่าสงครามวิทยา จำนวน 154 คน มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น เป็นที่พอใจของคณะผู้วิจัยและผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were: 1) to investigate conditions and problems of students’ core values; 2) to establish the guidelines for developing students’ core values, 3) to follow up the effects after the development of students’ core values at Thasongkram Wittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 23. The two-spirals of participatory action research were employed comprising four stages: planning, action, observation, and reflection. The researchers consisted of 20 teachers and 60 informants. The target group was 154 students. The research instruments were a form of observation, a set of questionnaire, and a form of interview. Statistics used for data collection were mean, percentage, and standard deviation. Content analysis was employed in forms of content classification and descriptive presentation.
The findings of this research were as follows:
1. The conditions and problems of students’ core values at Thasongkram Wittaya School under the Office of Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area 23 revealed that:
1.1 The conditions in terms of honesty, dedication, and patience, some students expressed impropriate behaviors, for example skipping the class, having poor attendance in school activities, being unwilling to cooperate in school activities, refusing to help parents, teachers and friends for classroom and school activities and household tasks; 2) In terms of gratefulness toward parents, guardians and teachers, some students showed their inappropriate behaviors, for example being rude, expressing aggressive behaviors, and showing disrespect to seniority; and 3) In term of being disciplined, obeying the laws, and paying respect to elder people, for example some students were late for school, lacked discipline, having inappropriate uniforms, and lacked responsibility.
1.2 The problems revealed that some students expressed inappropriate behaviors. In addition, teachers and parents did not have the guidelines for developing students’ behaviors in terms of core values.
2. The guidelines for developing students’ core values comprised: 1) Morning Activity, 2) Meeting Buddhist Monks for Moral Development, 3) Smiling and Greeting Activity, 4) Having Good Character in Thasongkram School Activity, 5) Ethics and Moral Support Project. In the second spiral, the additional activities involved Being a Good Friend Activity.
3. The effects after the students’ core values development at Thasongkram Wittaya School in the first and second spiral revealed that 154 students improved their behaviors which satisfied the co-researchers and parents at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 105.64 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 588.97 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 73.04 KB |
4 | บทคัดย่อ | 122.12 KB |
5 | สารบัญ | 313.84 KB |
6 | บทที่ 1 | 247.92 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,201.23 KB |
8 | บทที่ 3 | 364.32 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,634.10 KB |
10 | บทที่ 5 | 219.28 KB |
11 | บรรณานุกรม | 197.14 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 243.31 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 829.45 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 482.87 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,265.71 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 232.77 KB |