ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Organizational Culture Affecting the Effectiveness of School’s Administration under the Secondary Educational Service Area Office 22
ผู้จัดทำ
ณัฏฐณิชา โคทังคะ รหัส 59421229102 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์, ดร.สุรพล บุญมีทองอยู่
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2559  จำนวน 355 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 76 คน และครู จำนวน 279 คน จาก 69 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) การทดสอบค่าที (t - test ชนิด Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

3. วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน  โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

4. วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่ปฏิบติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีที่ตั้งจังหวัดแตกต่างกัน วัฒนธรรมองค์การโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ตัวแปรวัฒนธรรมองค์การ จำนวน 3 ลักษณะ ที่นำมาวิเคราะห์ พบว่า มีจำนวน 1 ลักษณะ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 36.10 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± 0.153

7. วัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ที่ควรได้รับการยกระดับมี จำนวน 2 ลักษณะ คือ ลักษณะสร้างสรรค์ และลักษณะก้าวร้าว โดยได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, determine the relationship and predictive power and establish the guidelines for developing organizational culture affecting the effectiveness of school’s administration. The samples consisted of 76 administrators and 279 teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office 22 in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires developed by the researcher. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One way ANOVA), Pearson’s product moment coefficient and Stepwise multiple regression analysis.

The results of this research were as follows:

1. The organizational culture and the effectiveness of school’s administration based on administrators and teachers’ opinions was at the high level in overall.

2. The organizational culture and the effectiveness of school’s administration based on administrators and teachers’ opinions was not different.

3. The organizational culture and the effectiveness of school’s administration based on administrators and teachers’ opinions specified by school size was significantly different at the .01 level in overall.

4. The organizational culture based on administrators and teachers’ opinions specified by province was significantly different at the .05 level in overall. The effectiveness of school’s administration was not different.

5. The organizational culture showed the positive relationship with the effectiveness of school’s administration in school under the Secondary Educational Service Area Office 22 at the .01 level of significance.

6. The one organizational culture affecting the effectiveness of school’s administration involved : creative organizational culture. It was also found that these one organizational culture were able to predict the effectiveness of school’s administration at the .01 level of significance with the predicting power of 36.10 percent and standard error of ± 0.153

7. The creative organizational culture and aggressive organizational culture are 2 factors of organizational culture should be developed and the researcher has proposed the guidelines for developing in this research.

คำสำคัญ
วัฒนธรรมองค์การ, ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน
Keywords
Organizational Culture, Effectiveness of School’s Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 106.88 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 594.85 KB
3 ประกาศคุณูปการ 73.83 KB
4 บทคัดย่อ 111.20 KB
5 สารบัญ 197.20 KB
6 บทที่ 1 324.01 KB
7 บทที่ 2 760.80 KB
8 บทที่ 3 396.67 KB
9 บทที่ 4 963.08 KB
10 บทที่ 5 439.21 KB
11 บรรณานุกรม 260.20 KB
12 ภาคผนวก ก 5,165.05 KB
13 ภาคผนวก ข 354.16 KB
14 ภาคผนวก ค 113.65 KB
15 ภาคผนวก ง 386.00 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 111.71 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 เมษายน 2562 - 13:31:27
View 900 ครั้ง


^