สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแผนผังความคิด เปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ความพึงพอใจต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้รับการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกุดสะกอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t – test for Dependent Samples and t – test for One Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณแบบทางเดียว (MANCOVA) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (ANCOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.59 คิดเป็นร้อยละ 59 แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 59 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
2. ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดหลังเรียนอยู่ในระดับมากขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ความพึงพอใจต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน หลังได้รับการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this study were to investigate the effectiveness effectiveness index of the workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques, to compare the students’ reading and writing spelling skills and learning achievement possessed before and after learning through the develop workbooks, to compare the students’ satisfaction of learning based on the set criteria, and to compare reading and writing spelling skills, satisfaction of learning and learning achievement of the students whose achievement motivations differed (low, moderate, and high) after these students had learnt through the workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques. The subjects were 21 Prathom Suksa 2 Students who were studying in the second semester of 2017 academic year at Ban Koodsakoi School under the jurisdiction of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 Office. They were obtained by cluster random sampling using the school as the sampling unit. The instruments included 1) workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques, 2) the test measure the students’ reading and writing spelling skills, 3) the questionnaire to examine the students’ satisfaction of learning, 4) learning achievement test, and 5) the questionnaire to evaluate the students’ levels of achievement motivations. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, effectiveness index, t- test (One Samples and Dependent Samples), One-way ANOVA, One-way MANCOVA, and One-way ANCOVA.
The study revealed this results:
1. The effectiveness index of workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques was 0.59 or 59 percent. This means that the students’ learning had the progress of 59% which higher than the set criteria.
2. After Prathom Suksa 2 students had learnt through the workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques, their reading and writing spelling skills were significantly higher than those of before at .05 statistical level.
3. After Prathom Suksa 2 students had learnt through the workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques, their satisfaction of learning was significantly higher than the set criteria at .05 statistical level.
4. After Prathom Suksa 2 students had learnt through the workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques, their learning achievement was significantly higher than those of before at .05 statistical level.
5. After Prathom Suksa 2 students had learnt through the workbooks for Thai reading spelling skills which were constructed based on Cooperative Learning and Mind Mapping Techniques, the reading and writing spelling skills, satisfaction of learning, and learning achievements, of the students whose achievement motivations differed (low, moderate, and high) were significantly varied .05 statistical levels.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 150.86 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 611.74 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 108.67 KB |
4 | บทคัดย่อ | 186.14 KB |
5 | สารบัญ | 422.19 KB |
6 | บทที่ 1 | 533.74 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,518.46 KB |
8 | บทที่ 3 | 1,112.89 KB |
9 | บทที่ 4 | 483.40 KB |
10 | บทที่ 5 | 308.39 KB |
11 | บรรณานุกรม | 434.54 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 299.47 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 2,309.54 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 823.30 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 709.80 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 502.41 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 302.97 KB |